วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2562

วิโอลา

สวัสดีครับ...วันนี้ผมจะพาไปรู้จักกับเครื่องดนตรีสากลประเภทสายที่มีรูปร่างคล้ายกับไวโอลิน แต่มีขนาดที่ใหญ่กว่า เรามาชมกันเลยครับ

วิโอลา (Viola)

        วิโอลา เป็นเครื่องดนตรีในตระกูลเครื่องสายที่มีรูปร่างคล้ายไวโอลิน แต่มีขนาดที่ใหญ่กว่า นิยมเล่นใน วงออร์เคสตรา และ วงเครื่องสาย ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากโลกตะวันตก เป็นหนึ่งในเครื่องดนตรีตระกูลไวโอลิน อันประกอบไปด้วยไวโอลิน วิโอล่า เชลโล และ ดับเบิลเบส โดยวิโอลามีระดับเสียงต่ำกว่า ไวโอลิน แต่สูงว่าเชลโลและดับเบิลเบส        วิโอล่าจะตั้งสายเป็น C-G-D-A ซึ่งต่ำกว่าไวโอลินที่เป็น G-D-A-E ปัจจุบันวิโอล่าก็ยังคงมีขนาดที่หลากหลายมากที่สุดในบรรดาเครื่องดนตรีในตระกูลเดียวกัน เพื่อให้การสะท้อนเสียงสมบูรณ์แบบเช่นเดียวกับไวโอลิน วิโอล่าจำเป็นต้องลดขนาดความยาวลงอีกครั้งหนึ่ง ผลของการประนีประนอมดังกล่าว ทำให้วิโอล่ามีขนาดความยาวอยู่ที่ 38 ถึง 45 ซม. ทำให้บทบาทของวิโอล่าในฐานะที่เป็นเครื่องดนตรีแสดงเดี่ยว ช้ากว่าไวโอลินและเชลโลซึ่งเป็นเครื่องดนตรีในตระกูลเดียวกัน




  วิโอล่า (Viola) ซินเดอร์เรลล่าแห่งเครื่องสาย 
เรื่องราวของเครื่องดนตรีชนิดนี้ช่างคล้ายคลึงกับเทพนิยายเรื่องซินเดอเรลล่าเมื่อเทียบกับเครื่องสายในตระกูลเดียวกัน‘Viola ’ ในภาษาอิตาเลี่ยนหมายถึงซอวิโอล (Viol)

ในช่วงศตวรรษที่ 16 และต้นศตวรรษที่ 17 มักจะพบเครื่องดนตรีที่ชื่อ da gamba หรือ da braccio ซึ่งแสดงถึงเครื่องสายที่พัฒนามาจากเครื่องดนตรีตระกูลเดียวกัน วิโอล่าก็เช่นเดียวกับไวโอลิน ปรากฎอยู่ในภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังที่วิหาร Saronno Cathedral ซึ่งเขียนขึ้นในปี ค.ศ. 1535 ต่อมาในศตวรรษที่ 16 วิโอล่าได้พัฒนาตัวเองเป็นเครื่องดนตรีเสียง Alto หรือ Tenor ในตระกูลไวโอลิน

โครงสร้างของวิโอล่า 
วิโอล่าจำนวนมากจากยุค Renaissance ตอนปลายและต้นยุค Baroque ที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่ามีการสร้างขึ้นแตกต่างกันหลายขนาด รวมถึงวิโอล่าขนาดเล็กเพื่อให้มีโทนเสียงที่สูงขึ้นเพื่อเล่นในวง Ensemble และวิโอล่าขนาดใหญ่สำหรับเล่นโทนเสียงต่ำ 


 บทบาทของวิโอล่า 
เเม้ว่าจะมีวิโอล่าจำนวนมากที่ตกทอดมาจากศตวรรษที่ 16 และ 17 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงบทบาทของวิโอล่าในฐานะเครื่องดนตรีที่เป็นส่วนเติมเต็มของท่วงทำนองเท่านั้น ความถ่อมตัวดูเหมือนจะเป็นเอกลักษณ์ของเครื่องดนตรีชนิดนี้ วงเครื่องสาย 5 ชิ้นและวิโอล่าอีก 2 คัน ถือเป็นสิ่งแปลกในดนตรีฝรั่งเศสยุคศตวรรษที่ 17 เช่น ผลงานของ Jean-Baptisete Lully หนึ่งในคีตกวีที่หลงใหลในน้ำเสียงของวิโอล่า เเม้ว่าจริงๆ แล้วน้ำเสียงของวิโอล่าไม่สามารถเทียบความสดใสกับไวโอลินได้เลย รวมทั้งไม่สามารถเทียบกับประโยชน์ของเชลโลในการเล่นทำนองเสียงเบสได้เช่นเดียวกัน นักวิโอล่าซึ่งมีจำนวนน้อยอยู่แล้ว แม้แต่นักวิโอล่าที่เชี่ยวชาญก็ถูกมองว่ามีทักษะที่ไม่อาจเทียบกับนักไวโอลินได้เลย เป็นเพียงนักดนตรีมือใหม่ที่พึ่งจะเริ่มต้นเท่านั้น ในสำนวนสมัยใหม่ซึ่งเปรียบเทียบวิโอล่าไว้ว่า “นักเป่าฮอร์นที่ไม่มีฟัน”

งานประพันธ์ออร์เคสตร้าในช่วงปลายยุคบาโร้คและตอนต้นของยุคคลาสสิค บทบาทของวิโอล่าไม่ได้ถูกละเลยเสียทีเดียว แต่มักจะถูกใช้คู่กับไวโอลินสองในโทนเสียงเดียวกัน แต่โดยทั่วไปแล้วจะใช้เล่นแนวเสียงเบสที่สูงกว่า 1 ขั้นคู่เสียงมากกว่า และคงใช้อยู่จนถึงตอนต้นศตวรรษที่ 19 ซึ่งการเพิ่มวิโอล่าเข้าไปในงานประพันธ์ดนตรีวงออร์เคสตร้า (Tutti) ได้กลายเป็นเรื่องปกติมากๆ ยิ่งกว่านั้น คีตกวีไม่ต้องการที่จะให้ความสำคัญใดๆ กับบทบาทของวิโอล่ามากนัก เช่น ในช่วงท้ายของซิมโฟนีบทที่ 9 (ค.ศ. 1824) ในกระบวนช้า พบว่าบีโธเฟนได้ให้วิโอล่าได้เล่นคู่กับไวโอลินแนวที่สองเพื่อให้มั่นใจว่าจะได้จังหวะที่ช้าและสง่างาม
ตามที่ต้องการเท่านั้น 



วีดิโอการเล่นวิโอลาเบื้องต้น




ที่มา : https://sites.google.com/site/minggrawipa/home/1-1-3-wi-xo-la-viola

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กิ๋ง

สวัสดีครับเพื่อนๆทุกคน ก่อนจากกันวันนี้ ผมมีเครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องกระทบ ที่มีรูปทรงสามเหลี่ยมมาแนะนำให้เพื่อนๆรู้จักกันนะครับ นั้นก็...