วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

อังกะลุง

สวัสดีครับ ขอเชิญทุกท่านเข้ามาชม-เข้ามาอ่าน..เกี่ยวกับเครื่องดนตรีไทยพื้นบ้านภาคกลางที่ใช้บรรเลงในงานต่างๆ..เป็นเครื่องดนตรีที่มีเสียงไพเราะ..ถ้ารู้ก็เข้าไปอ่านกันเลยครับ!!

ประเภทของเครื่องดนตรีไทย(เครื่องตี-อังกะลุง)

อังกะลุง


อังกะลุง เป็นเครื่องดนตรีไทยชนิดหนึ่ง ทำจากไม้ เล่นด้วยการเขย่าให้เกิดเสียง นับเป็นเครีองดนตรีประเภทตี มีที่มาจากประเทศอินโดนีเซีย ใน ภาษาอินโดนีเซียเรียกว่า อังคะลุง หรือ อังกลุง (Angklung)

ประวัติอังกะลุง

   ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทำให้ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินของพระองค์ได้รับความสุขโดยทั่วกัน หากผู้ใดได้รับทุกข์หรือเดือดร้อนประการใดพระองค์ทรงหาหนทางช่วยเหลือเสมอ ครั้งนั้นปรากฏว่า สมเด็จเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าพระยาภานุพันธ์วงค์วรเดช ทรงกลัดกลุ้มพระทัย เมื่อพระองค์ทรงทราบ จึงมีรับสั่งให้เข้าเผ้าเพื่อทรงไต่ถามทุกข์สุข เนื่องจากเสด็จในกรมเป็นอนุชาที่แสนเสน่หา พระองค์ทรงเห็นความทุกข์นั้น จึงทรงแนะนำและอนุญาตให้หาที่เสด็จประพาสให้ทรงเกษมสำราญ กรมสมเด็จพระอนุชาพอพระทัยทรงรู้สึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น จึงทรงดำริว่าจะเสด็จประพาสประเทศชวา
  ดังนั้นในวันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม 2450 สมเด็จเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าพระยาภานุพันธ์วงค์วรเดช จึงเสด็จจากกรุงเทพมหานคร มุ่งไปยังเมืองได ของประเทศชวาเป็นแห่งแรก และทรงตั้งพระทัยว่าจะเสด็จไปยังตำบล มาโตเออ การเดินทางไปลำบากมาก เนื่องจากยังไม่มียานพาหนะ เมื่อเสด็จถึงตำบลมาโตเออ พวกประชาชนมีอยู่ประมาณ 10 หมู่บ้าน ต่างก็พากันมาต้อนรับพระองค์ อย่างคับคั่งสมพระเกียรติในขณะที่ทรงประทับเยี่ยมเยียนราษฎรตำบลนั้น บรรดาชาวบ้านต่างนัด จัดดนตรี อย่างที่เรียกว่ากำมาลัง (มี ปีพาทย์ ฆ้อง กลอง ) นำมาเสดงถวายให้ทอดพระเนตร ประชันกันถึง 7 วงในหมู่ดนตรี มีแปลกอยู่ชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ไผ่เป็นท่อน ๆ แขวนไว้เป็นตับ ตับละ 2 ท่อน ใช้ถือคนละ 1 ตับ ใช้เข่าเรียงเสียง และสลับเสียงไปตามทำนองของเพลงต่าง ๆ ได้ไพเราะน่าฟังมา ผิดกับเครื่องดนตรีชนิดอื่น ๆ ที่ใช้บรรเลงด้วย ดีด สี ตี เป่า แต่ดนตรีชนิดนี้ใช้บรรเลงด้วยเข่าให้ขาส่วนล่างของกระบอกทั้งสองขาที่แขวนอยู่ในรางกระทบหรือตัวรางข้างหนึ่ง และอีกข้างหนึ่ง เช็คเสียงดังตามที่เทียบกระบอกเสียงไว้ เป็นเสียงสูงหรือต่ำกระบอกเสียง ใหญ่ กลาง เล็ก ผูกแขวนไว้รางเป็นตับ ๆ เมื่อเข่าไปตามเสียงทำนองของเพลงที่สับสน วนเวียน ตรงความเคลื่อนไหวของเสียงตามทำนองเพลงนั้น ๆ ได้น่าฟังมาก ดนตรีชนิดนี้แหละเรียกว่า "อังกะลุง" ในโอกาสนี้หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ได้ติดตามเสด็จไปด้วย
  เมื่อพระองค์เสด็จกลับเมืองไทย จึงมีรับสั่งให้กงศุลไทยในชวา ซื้อดนตรีชนิดนี้ส่งมา 1 ชุด แล้วทรงนำดนตรีชนิดนี้ฝึกสอนมหาดเล็กของพระองค์ในวังบูรพาก่อน จึงเกิดมีดนตรีชนิดนี้ขึ้นในเมืองไทย ต่อมาก็ได้แพร่หลาย ออกไปทั่วประเทศ ดังนั้นจึงถือว่าพระองค์เป็นเจ้านายคนแรกที่ให้กำเนิดดนตรีชนิดนี้ขึ้นในประเทศไทย ทั้งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า อังกะลุงนี้ เป็นดงตรีที่แปลกชนิดหนึ่งผู้บรรเลงทุก ๆ คนต้องมีความสามัคคีพร้อมเพรียงกันตลอดเวลาที่บรรเลงเพลงทุก ๆ เพลงได้ ทั้งผู้เขย่าก็มีความสนุกสนานมากบางคนถึงกับเขย่าไปตามทำนองเพลงและมีผู้ประดิษฐ์ขึ้นในเมืองไทยสามารถทำเสียงสูงและต่ำกระบอกเสียงใหญ่ กลาง เล็ก ด้วยไม้ไผ่สายธรรมชาติ ตลอดจนรูปของตับอังกะลุง ได้ดัดแปลงแก้ไข ให้สวยงามและเหมาะสมให้ผิดไปจากของเดิมมากมาย อังกะลุงชวาที่นำเข้ามาครั้งแรกเป็นอังกะลุงชนิดคู่ ไม้ไผ่ 2 กระบอก มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก ยกเขย่าไม่ได้ ต้องใช้วิธีการบรรเลงแบบชวา คือมือหนึ่งถือไว้ อีกมือหนึ่งไกวให้เกิดเสียงอังกะลุงที่นำเข้ามาสมัยนั้น มี 5 เสียง ตามระบบเสียงดนตรีของชวา ทำด้วยไม้ไผ่ทั้งหมด ทั้งตัวอังกะลุงและราง ถายหลังได้มีการพัฒนาโดยขยายจำนวนไม้ไผ่เป็น 3 กระบอก และลดขนาดให้เล็กและเบาลงเพิ่มเสียงจนครบ 7 เสียง ในสมัยรัชกาลที่ 6 เชื่อกันว่า มีการพัฒนาการบรรเลง จากการไกว เป็นการเขย่าแทน


แบบของการบรรเลงอังกะลุงในปัจจุบัน

   หลวงประดิษฐ์ไพเราะได้นำวงอังกะลุงจากวังบูรพาภิรมย์ไปแสดงครั้งแรกในงานทอดกฐินหลวง ที่วัดราชาธิวาส ในสมัยรัชกาลที่ 6 โดยทั่วไปเครื่องหนึ่งจะมีเสียงเดียว การเล่นอังกะลุงให้เป็นเพลงจึงต้องใช้อังกะลุงหลายเครื่อง โดยมักจะให้นักดนตรีถืออังกะลุงคนละ 1 - 2 เครื่อง เมื่อต้องการโน้ต เสียงใด นักดนตรีประจำเสียงนั้นก็จะเขย่าอังกะลุง การเล่นอังกะลุงจึงต้องอาศัยความพร้อมเพรียงเป็นอย่างมาก นอกจากอังกะลุงเครื่องละหนึ่งเสียงแล้ว ยังมีการผลิตอังกะลุงที่มีเครื่องหนึ่งมากกว่า 1 เสียงด้วย เรียกว่า อังกะลุงราว

ส่วนประกอบอังกะลุง

1. ไม้ไผ่ลาย ต้องเป็นไม้ที่มีความแกร่ง คือมีเนื้อไม้แข็งได้ที่ จึงจะมีเสียงไพเราะ และจะต้องมีลายที่สวยงาม ตัดไม้ให้เป็นท่อนตามขนาดที่ต้องการ แล้วนำมาตากแห้งย่างไม้กับไฟอ่อน ๆ นำมาอาบน้ำยากันมอด บ่มไม้โดยใช้ผ้าคลุ่มจะช่วยป้องกันมอดได้ หลังจากนั้นจึงนำมาเหลาตามเสียงที่ต้องการไม้ไผ่ลายเป็นไม้ไผ่ประเภทหนึ่ง ที่ปล่องไม้จะมีลายด่างเหมือนตกกระ เป็นโดยธรรมชาติทั่วทุกปล้อง จะเห็นลายเด่นชัดเมื่อมันแก่ เนื้อไม้ค่อนข้างบางเบาแต่แข็งแกร่ง ยิ่งแก่ก็ยิ่งแข็งแต่โบราณช่างทำดอกไม้ไฟจะนำมาประกอบการทำดอกไม้ไฟที่มีชื่อว่า “ ช้างร้อง ”เพราะทำให้้เกิดเสียง ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จะหาไม้ไผ่ชนิดนี้ได้ง่ายแถบชานเมืองกรุงเทพส่วนมากจะขึ้นตามป่าช้าตามวัด (ที่ฝังศพ หรือเก็บศพก่อนเผา) ต่อมาก็มีคนนำมาปลูกตามสวนแต่ในปัจจุบันมักจะหาดูได้ในบางท้องที่ เช่นนนทบุรี ปราจีนบุรี เป็นต้น
2. รางไม้ เดิมจะใช้ไม้สักทองขุดเป็นราง เพื่อให้วางขาที่ฐานกระบอกลงในร่องที่ขุด ร่องที่เจาะจะมี 3 ร่อง และรูกลมอีก 5 รู สำหรับตั้งเสายึดตัวกระบอกอังกะลุง
3. เสาอังกะลุง มักทำด้วยไม้ไผ่เหลาเกลาหรือกลึงจนกลมเรียบ มีความยาวตามความสูงของกระบอกอังกะลุง ขนาดโตกว่ารูที่รางเล็กน้อย
4. ไม้ขวาง ทำจากไม้ไผ่เหลาแบบ ส่วนกลางปาดเนื้อไม้เป็นร่องลึกพอประมาณใช้สำหรับสอดผ่านช่องกระบอกอังกะลุง เพื่อยึดตัวกระบอกกับเสา
5. เชือก, กาว ใช้เป็นตัวยึดระหว่างไม้ขวาง กับเสา
6. สี, น้ำมันชักเงา ใช้ตกแต่งตัวอังกะลุงให้มีความสวยงาม เป็นเงางาม

  ส่วนประกอบต่าง ๆ ของอังกะลุงจะนำมาประกอบขึ้นเป็นอังกะลุง 1 ตับ โดยการนำเอากระบอกไม้ไผ่ลายที่เหลาและเทียบเสียงอย่างถูกต้องแล้ว (เทียบกับขลุ่ยเพียงออ ระนาด หรือกับเครื่องดนตรีสากล เช่น ปี่คลาริเนต เมโลดิก้า ออร์แกน ) จำนวน 3 กระบอก 3 ขนาด ( แต่ละกระบอกจะมีเสียงสูง กลาง ต่ำ แต่อยู่ในระดับเสียงเดียวกัน ) มาเจาะรูปพระจันทร์ครึ่งซีก นำมาประกอบกับรางไม้ ยึดกับเสา และไม้ขวางด้วยเชือกและกาว แล้วนำมาตกแต่งด้วยสีหรือน้ำมันเคลือบเงา

อังกะลุง เป็นเครื่องดนตรีที่ทำด้วยวัสดุธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่จึงมักจะชำรุดง่าย โดยเฉพาะอันตรายจากตัวมอดซึ่งเป็นตัวทำลายเนื้อไม้ให้ผุ เมื่อมอดกินเนื้อไม้ จะทำให้น้ำหนักของอังกะลุงจะเบาขึ้น เสียงก็จะเปลี่ยนไป การที่นำอังกะลุงมาบรรเลงบ่อย ๆอย่างสม่ำเสมอ จะมีผลดี คือทำให้มอดไม่กินหรือกินบ้างแต่ก็ช้าลง แต่ถ้าเก็บไว้เฉย ๆ จะทำให้เสียง่าย การวางอังกะลุง ก็ควรวางเบา ๆ และจะต้องพิงไว้ในลักษณะเอียงเอนเสมอ เพื่อป้องกันการตก หรือล้มกระแทกซึ่งอาจทำให้้กระบอกอังกะลุงแตกได้ สภาพดินฟ้าอากาศก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้เสียงเพี้ยนได้ โดยเฉพาะความชื้น การบรรเลงในห้องปรับอากาศก็จะเป็นสิ่งที่ทำให้เสียงของอังกะลุง เปลี่ยนไปจากเดิมได้


วงอังกะลุง

  อังกะลุงอาจเล่นเป็นวงดนตรีอังกะลุงโดยเฉพาะ หรือเล่นรวมกับเครื่องดนตรีอื่นๆ ก็ได้ มักพบในวงดนตรีของสถาบันการศึกษา มากกว่าวงดนตรีอาชีพ
  วงอังกะลุงวงหนึ่งจะมีอังกะลุงอย่างน้อย 7 คู่ และมีเครื่องประกอบจังหวะ ได้แก่ ฉิ่ง, ฉาบเล็ก, กรับ, โหม่ง, กลองแขก นอกจากนี้มักมีเครื่องตกแต่งเพื่อเพิ่มความสวยงาม เช่น ธงชาติ, หางนกยูง เป็นต้น


ที่มา:http://xn--42cg3bekk9dce9g7dra8iwc9b.blogspot.com/2009/06/blog-post_3500.html

กลองตึ่งโนง

สวัสดีทุกท่านที่เข้ามาอ่าน-มาชมกันนะครับ วันนี้จะพาไปรู้จักเกี่ยวกับกลองตึ่งโนง..ที่นิยมใช้ในงานแห่ของภาคเหนือกันนะครับ

กลองตึ่งโนง

กลองตึ่งโนง หรือกลองแอว เป็นกลองล้านนาทางภาคเหนือ ตัวกลองจะยาว มากขนาด 3-4 เมตรก็มี ใช้ตีเป็น อาณัติสัญญาณประจำวัด และใช้ในกระบวนแห่กระบวนฟ้อน ต่าง ๆ ประกอบกับตะหลดปด ปี่แน ฉาบใหญ่ และฆ้องหุ่ย ใช้ตีด้วยไม้ เวลาเข้ากระบวนจะมีคนหาม



กลองแอว เป็นกลองขึงด้วยหนังหน้าเดียว ทำจากไม้เนื้อแข็ง เช่น ประดู่ ไม้ชิงชัน ขึงหน้ากลองด้วยหนังวัวตัวเมียหรือเลียงผา แต่ละถิ่นมีชื่อเรียกต่างกันคือ จังหวัดเชียงใหม่เรียกกลองแอวหรือกลองตึ่งโน่ง จังหวัดลำพูนเรียกกลองเปิ้งหรือกลองเปิ่งโมง จังหวัดลำปางเรียกกลองตาเสิ้งหรือกลองตาเส้ง จังหวัดแพร่และจังหวัดน่านเรียกกลองอึด จังหวัดเชียงรายและจังหวัดพะเยาเรียกกลองอึดสิ้ง




กลองแอวมีพัฒนาการมาจากกลองหลวงที่มีใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2345 – 2427 ในสมัยพระเจ้ากาวิละ กลองแอวแบ่งตามเสียงเป็น 3 ประเภทคือ

  -กลองแอวเสียงใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลาง 13 – 15 นิ้ว
  -กลองแอวเสียงกลาง เส้นผ่านศูนย์กลาง 12.5 – 13.5 นิ้ว
  -กลองแอวเสียงหน้อย เส้นผ่านศูนย์กลาง 11 – 12 นิ้ว ปัจจุบันมีใช้น้อยลง เพราะเสียงเล็กแหลม            เมื่อนำ มาตีในวงติ่งโนง ทำให้ไม่สนุกครึกครื้นเท่ากลองแอวแบบอื่นๆ
หนังที่ขึงหน้ากลองแล้วให้เสียงดีที่สุดคือหนังเลียงผา แต่เมื่อเลียงผาเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง จึงเปลี่ยนมาใช้หนังวัวตัวเมียแทน โดยนิยมใช้หนังวัวที่ตกลูกมาแล้ว 3 ครอกขึ้นไป กลองชนิดนี้ต้องติดจ่ากลองเพื่อเทียบเสียงให้ตรงกับฆ้องอุ้ย จ่ากลองทำมาจากข้าวเหนียวบดแช่น้ำแล้วนำมาตำให้ละเอียดผสมกับขี้เถ้าไม้ลำไย สล่ากลองบางคนใช้ขนมจีนแทนข้าวเหนียว

ที่มา:กลองตึ่งโนง

วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ปี่จุม

สวัสดีทุกท่านผู้ชม-ผู้อ่าน วันนี้จะพาทุกๆท่านไปชมเครื่องดนตรีไทยพื้นบ้านภาคเหนือ คือ ปี่จุม ไปรู้จักกันเลย!!

ปี่จุม


ปี่จุม เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าของภาคเหนือ (ล้านนา) คำว่า "จุม" เป็นภาษาล้านนาหมายถึงการชุมนุม หรือการประชุมกัน ดังนั้น ปี่จุม จึงหมายถึง การนำปี่หลาย ๆ เล่มนำมาเป่ารวมกัน ทำด้วยไม้รวก ลำเดียว นำมาตัดให้มีขนาดสั้น ยาว เรียงจากขนาดเล็ก (ปลายไม้) ไปหาใหญ่ (โคนของลำไม้) มีต่าง ๆ กัน ตามระดับเสียง เรียงจากขนาดเล็ก ซึ่งมีระดับสูง ไปหาขนาดใหญ่ที่มีเสียงต่ำ ดังนี้

-ปี่ก้อยเล็ก
-ปี่เล็ก หรือ ปี่ตัด
-ปี่ก้อย
-ปี่กลาง
-ปี่แม่


   ปี่ชุมนิยมใช้บรรเลงประกอบการขับซอพื้นเมืองของล้านนา นิยมกันมากในจังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง โดยเพลงหรือทำนองซอที่ใช้ปี่ชุมบรรเลง ได้แก่ ทำนองตั้งเชียงใหม่ จ้อยเชียงแสน จะปุ ละม้าย เงี้ยว พม่า อื่อ ล่องน่านก๋าย พระลอเดินดง

ประเภทของปี่ชุม
-ปี่ชุม 3 ประกอบด้วย ปี่ตัด ปี่ก้อย ปี่กลาง
-ปี่ชุม 4 ประกอบด้วย ปี่ตัด ปี่ก้อย ปี่กลาง ปี่แม่
-ปี่ชุม 5 ประกอบด้วย ปี่ก้อยเล็ก ปี่ตัด ปี่ก้อย ปี่กลาง ปี่แม่

ส่วนประกอบ
   ไม้ที่ใช้มาทำปี่จุมมักจะเป็นไม่ไผ่รวกชนิดหนึ่ง มีสีออกแดง ปี่ 1 จุมจะใช้ไม้ไผ่รวกลำเดียวกันทำโดยตัดไม้ตามขนาดที่ต้องการ นำมาตากแดดจนแห้งดีแล้ว นำไปทะลวงข้อโดยใช้เหล็กแหลมเผาไฟ ทางปลายที่เรียวเล็กจะใช้เป็นหัวเล่ม ซึ่งจะปาดเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า เอาไว้ใส่ลิ้นปี่ แล้จะเจาะรูไล่ลงมา 7 รู ซึ่งระยะห่างของรูแต่ละช่วงจะไม่เท่ากันเหมือนขลุ่ย รูที่เจาะนั้นก็จะไม่เจาะเหมือนขลุ่ยกล่าวคือจะเจาะทะลุย้อนขึ้นไปทางหัวปี่ที่ใส่ลิ้น ไม่เจาะทะลุตรง ๆ เวลาเป่าจะใช้ปากอมลิ้นเข้าไปแล้ว ใช้แก้มทำกล่องลมเพื่ออัดลมเข้าลิ้นให้เกิดเสียง อย่าง "มุราลี" ของพระกฤษณะ
ลิ้นปี่ถือว่าเป็นหัวใจที่สำคัญที่สุดของปี่จุม จะใช้ทองแดง หรือสำริด ตีให้เป็นแผ่นบาง ๆ ปัจจุบันใช้เหรียญ 25 สตางค์ เหรียญ 50 สตางค์ นำมาทุบหรือรีดให้แบบ แล้วทำการเซาะให้เป็นแนวร่องทะลุ ให้เป็นรูปตัว V ซึ่งเสียงของปี่จะดีหรือไม่ จะเป่าง่ายเป่ายากขึ้นอยู่กับลิ้นปี่นั้นเอง เพราะฉะนั้นจึงมีเพียงจั้งปี่รุ่นเก่า ๆ เท่านั้นที่ทำปี่ได้เสียงดี และหาผู้สืบต่อได้ยากเพราะต้องใช้เวลา และสมาธิสูงในการทำวงปี่สมัยก่อนนั้น จะประกอบด้วย ปี่จุม 4 เพียงเท่านั้น ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ โดยลดปี่ลงเพียง 3 เล่ม คือ ปี่แม่ ปี่กลาง ปี่ก้อย และได้นำซึง เข้ามาแทน เพื่อใช้เป็นเสียงทุ้ม จนถึงปัจจุบันนี้ วงปี่เหลือเพียง ปี่กลาง ปี่ก้อย ปี่เล็ก และ ซึง โดยได้ตัดปี่แม่ออกเนื่องจากปี่แม่มีลีลาเม็ดพรายน้อย ประกอบกับมีความยาวมาก เด็ก ๆ รุ่นใหม่ที่จะหัด นิ้วมือจะสัมผัสรูปี่ไม่ถึง ปี่แม่จึงค่อย ๆ เลือนหายไปจากวงซอ สำหรับ "ปี่ก้อย" นั้นได้ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของวงซอเพราะถือว่า เป็นผู้นำเปรียบเสมือนระนาดเอกของภาคกลาง จั้งซอและจั้งปี่เล่มอื่น ๆ จะฟังเสียงจากปี่ก้อย เพราะปี่ก้อยจะมีลีลาเม็ดพรายที่มากที่สุด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจั้งปี่ที่ทำการเป่าด้วย จั้งซอจะเปลี่ยนทำนองซอเป็นทำนองไหนก็ต้องบอกจั้งปี่ก้อยเพียงผู้เดียว เสียงที่ดังระรัวแต่อ่อนหวาน จึงเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของปี่ซอ




ที่มา:ปี่จุม

กลองตะโลดโป๊ด

 สวัสดีท่านผู้ชม-ผู้อ่าน ที่เคารพรักทุก ๆ ท่านวันนี้จะพาทุกท่านไปรุ้จักเกี่ยวกับเครื่องดนตรีไทยภาคเหนือกันนะครับ  ผมคิดว่าหลาย ๆ ท่านคงจะงงและไม่รู้จักว่าอะไรคือ ตะ-โล้ด-โป๊ด มันคืออะไร มันคือการละเล่นครับ ไปรู้จักกันเลย!!


กลองตะโลดโป๊ด


กลองตะโลดโป๊ด

   ตะโล้ดโป๊ด หรือตะหลดปด เป็นกลองพื้นบ้านภาคเหนือของไทย หุ่นกลองทำด้วยไม้แก่นเนื้อแข็ง ขึ้นหนังสองหน้า หุ่นกลองเป็นรูปทรงกระบอก คล้ายกับเปิงมางหรือกลองสองหน้าของภาคกลางแต่มีขนาดเล็กและยาวกว่า ใช้สายหนังหรือเชือกไนลอนโยงเร่งเสียง ขนาดยาวและกว้างตามความต้องการของผู้สร้างหรือขนาดของกลองที่จะนำไปใช้ร่วมด้วย คือ กลองหลวงหรือกลองแอว โดยทั่วไปตัวกลองตะโล้ดโป๊ดยาวประมาณ 71-78 ซม. หน้ากลองวัดเส้นผ่านศูนย์กลางได้ประมาณ 17-20 ซม. มีหูผูกห้อยทำด้วยหนังไว้สำหรับแขวน ไม้ตีมีหัวค่อนข้างแข็งเพื่อให้เกิดเสียงดัง
   โดยปกติกลองตะโล้ดโป๊ด ใช้ตีคู่กับกลองแอวเมื่อบรรเลงเคลื่อนที่ในขบวนแห่ โดยผูกห้อยติดกับกลองแอว ซึ่งมีคนหามและคนเดินตีไปด้วย นอกจากนี้ยังใช้ตีประกอบการฟ้อน และใช้บรรเลงในการเล่นเพลงพื้นเมืองทางภาคเหนืออีกด้วย โดยนิยมเล่นร่วมกับเครื่องดนตรีชนิดอื่นๆ อีก 5-6 ชิ้น คือ ปี่แน 2 เลา (แนน้อย 1 แนหลวง 1) ฉาบใหญ่ 1 ฆ้องโหม่ง 1 ฆ้องหุ่ย 1 และกลองแอว 1 รวมเรียกว่า วงกลองตึ่งโนง
    เสียงของตะโล้ดโป๊ดต้องเทียบให้เข้ากับฆ้องหุ่ย มีหน้าที่ตียืนจังหวะเพื่อให้ฉาบหรือเครื่องดนตรีอื่นตีรับตามทำนองนั้นๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันยังไม่พบว่ามีการนำไปผสมกับวงกลองประเภทอื่นๆ เลย

  
 กลองตะโล้ดโป๊ด : เป็นเครื่องดนตรีประเภทกลองชนิดหนึ่ง ที่ขึงด้วยหนังสองหน้า ลักษณะการหุ้มหน้ากลองใช้สายเร่งเสียงดึงโดยโยงเสียงสอดสลับกันไปมาระหว่างหูหิ่งทั้งสองหน้า ตัวกลองมีลักษณะยาวคล้ายกับ “เปิงมาง” และ “สองหน้า” แต่ตัวกลองยาวกว่าเปิงมางและสองหน้า ตัวกลองทำด้วยไม้เนื้อแข็งขุดเจาะโพรงภายในทั้งสองหน้าอยู่ในลักษณะบัวคว่ำและบัวหงาย มีท่อนำเสียงตรงกลาง ใช้ตีประกอบจังหวะร่วมกับกลองแอว์ อาจเป็นวงกลองตึ่งนง เปิ้งมง ตกเส้ง หรือ กลองอืด ก็ได้ วงกลองเหล่านี้มักบรรเลงเป็นมหรสพในงานบุญหรือในการเล่นเพลงพื้นเมืองภาคเหนือ เช่น ประกอบการฟ้อนเล็บ ฟ้อน เทียน และในขบวนแห่โดยทั่วไป

ที่มา:http://tkapp.tkpark.or.th/stocks/content/developer1/thaimusic/16_talodpod/web/detail.html

วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

กลองมโหระทึก

สวัสดีครับทุกท่าน..วันนี้จะพาทุกท่านไปรู้จักกลองมโหระทึก..หลายคนอาจเคยเห็นแต่ไม่รู้จัก..วันนี้จะพาไปรู้ถึงความเป็นมาของกลองมโหระทึก..ไปดูกันได้เลยครับ!!

กลองมโหระทึก

เกี่ยวกับกลองมะหระทึก

มโหระทึก เป็นกลองชนิดหนึ่งทำด้วยโลหะ เป็นกลองหน้าเดียว รูปทรงกระบอก ตรงกลางคอดเล็กน้อย มีขนาดต่างๆ ส่วนฐานกลวง มีหูหล่อติดข้างตัวกลอง 2 คู่ สำหรับร้อยเชือกหามหรือแขวนกับหลัก ที่หน้ากลองเป็นแผ่นเรียบ มักมีรูปกบหรือเขียดอยู่ที่ด้านบนหน้ากลอง กลองมโหระทึกนี้มักจะเรียกแตกต่างกันออกไปตามรูปแบบและความเชื่อของคนในท้องถิ่นนั้นๆ อาทิ ภาคเหนือของประเทศไทย และในประเทศพม่าเรียกว่า ฆ้องกบหรือฆ้องเขียด เพราะมีรูปกบหรือเขียดปรากฏอยู่บนหน้ากลอง จีนเรียกว่า ตุงกู่(Tung Ku) อังกฤษเรียกว่า Kettle drum หรือ Bronze drum เพราะว่ากลองนี้มีรูปร่างคล้ายกับโลหะสำริดที่ใช้ในการต้มน้ำ ส่วนไทยเรานั้นเรียกว่า หรทึก หรือ มโหระทึก ซึ่งชื่อเรียกนั้นจะแตกต่างกันไปแต่ละยุคสมัย กลองมโหระทึกใช้เนื่องในพิธีกรรมความเชื่อ เป็นวัฒนธรรมร่วมที่พบในพื้นที่ต่างๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ พม่า ไทย เวียดนาม ลาว มาเลเชีย อินโดนีเชีย ฟิลิปปินส์ ฯลฯ
กลองมโหระทึก


   กลองมโหระทึกมีประติมากรรมรูปกบ


ประติมากรรมรูปกบด้านบนของกลองมโหระทึก
ประวัติความเป็นมาของกลองมโหระทึก

กลองมโหระทึกเป็นตัวแทนของอารยธรรมเริ่มแรกของภูมิภาคและเป็นวัฒนธรรมที่โดดเด่นอย่างหนึ่งในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นวัฒนธรรมความเชื่อของกลุ่มชนโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ต่อเนื่องถึงสมัยต้นประวัติศาสตร์ การพบกลองมโหระทึกเป็นหลักฐานที่ชี้ให้ถึงภูมิปัญญาและความรู้ความสามารถทางด้านศิลปกรรมและเทคโนโลยีของคนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่น้อยกว่า 3,000 ปี มาแล้ว ก่อนที่จะรับอารยธรรมจากอินเดียและจีน นอกจากนั้นยังบ่งบอกถึงสัญลักษณ์ของอำนาจของมนุษย์ที่สามารถผลิตเครื่องมือสำริดที่ใช้โลหะสำคัญในการผลิตเป็นจำนวนมาก ที่สำคัญยังมีลวดลายที่บ่งบอกถึง “ความอุดมสมบูรณ์” เช่น ลายปลา ลายคลื่นน้ำ หรือมีรูปประติมากรรมรูปกบประดับตามมุม ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของน้ำหรือฝนนั่นเอง

ในด้านประวัติความเป็นมาของกลองมโหระทึกนั้น  ยังไม่อาจกำหนดลงไปได้อย่างชัดเจน  แต่เป็นที่ทราบกันว่ากลองมโหระทึกนี้เป็นศิลปโบราณวัตถุที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางความเชื่อที่นิยมใช้กันในยุคโลหะ  ซึ่งมีอายุประมาณ  2,000-3,000  ปีมาแล้ว  และในบางท้องที่บริเวณภาคใต้ของจีนและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ก็ยังมีการใช้เพื่อประกอบพิธีกรรมสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
นักโบราณคดีให้ความสนใจเกี่ยวกับกลองมโหระทึก ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22 -23 ประมาณ 300 ปีมาแล้ว มีงานเขียนของชาวตะวันตก G.E.RUMPHIUS และ E.C.BACSOLIT กล่าวถึงโบราณวัตถุสำริดนี้ในวัฒนธรรมดองซอน (DONG SON) ที่พบในอินโดนีเซีย กระทั่งล่วงมาถึงปี พ.ศ.2445 ชาวออสเตรเลีย FRANZ HEGER เสนอแนวความคิดว่า กลองมโหระทึกมีกำเนิดตอนเหนือของเวียดนาม   แนวความคิดนี้ ได้รับการสนับสนุนจาก BEZACIER ว่า กลองมโหระทึกมีการผลิตครั้งแรกในวัฒนธรรมดองซอน สมัยก่อนประวัติศาสตร์ถึงกึ่งประวัติศาสตร์ ราวพุทธศตวรรษที่ 2-3
ในเวียดนามมีการขุดค้นพบครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2467 ประมาณ 80 ปีที่ผ่านมา  ทางชุมชนโบราณตอนเหนือและภาคกลาง และเมื่อ 40 ปีได้พบแหล่งโบราณคดีที่มีวัฒนธรรมการใช้กลองมโหระทึกกว่า 50 แหล่ง ส่วนใหญ่กระจายอยู่ในบริเวณแอ่งแม่น้ำหง(Hong) และแม่น้ำมา(Ma) ไปจนถึงตอนเหนือของเวียดนามในเขตจังหวัดดองซอน  และต่อเนื่องไปถึงแม่น้ำโซ (Tso) และแม่น้ำหยู (Yu)บริเวณตอนใต้ของจีน กลองมโหระทึกที่พบในเวียดนาม  กำหนดอายุอยู่ในช่วงระหว่าง 400 ปีก่อนพุทธกาล-พุทธศตวรรษที่7
การพบกลองมโหระทึกแพร่กระจายในประเทศต่างๆของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ทำให้เกิดคำถามในทางวิชาการว่า  กลองมโหระทึกเป็นวัฒนธรรมของกลุ่มชนใดในภูมิภาคนี้  ศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี นักโบราณคดีไทย ได้เสนอแนวความคิดเกี่ยวกับกลุ่มชนที่เป็นเจ้าของวัฒนธรรมกลองมโหระทึก  อาจมีหลายกลุ่ม  ประกอบด้วย

1. กลุ่มชนในวัฒนธรรมดองซอนอาจเป็นพวกเย่ห์(Yueh) หรือพวกเวียต(Viet)

2. กลุ่มชนพื้นเมืองที่อาศัยในบริเวณภาคใต้ของไทย ก่อนจะเกิดกลุ่มวัฒนธรรมศรีวิชัย

3. กลุ่มชนมวง (Muongs) ในเวียดนาม

4. กลุ่มชนไทยใหญ่ และกลุ่มชนอินธะ(Inthas) ในสหภาพพม่า

5. กลุ่มชนกะเหรี่ยงบางกลุ่มในไทย และสหภาพพม่า

6. กลุ่มชนจ้วง (Zhuang) ในเขตตอนใต้ของจีน

7. กลุ่มชนจีนฮั่น (Han) ในแผ่นดินใหญ่

สิ่งที่น่าสังเกต คือ กลุ่มชนที่สันนิษฐานว่าอาจเป็นเจ้าของวัฒนธรรมกลองมโหระทึกทั้ง 7 กลุ่มที่กล่าวมา  ส่วนหนึ่งเป็นกลุ่มชนเชื้อสานไท  ซึ่ง B.J.TERWIEL นักภาษาศาสตร์เชื่อว่า เป็นกลุ่มชนเชื้อสายเก่าแก่ของภูมิภาคนี้และมีการแพร่กระจายทางวัฒนธรรมด้านภาษาพิธีกรรมและแนวทางการดำรงชีพในแบบของกลุ่มชนเชื้อสายไทตั้งแต่ตอนใต้ของจีนจากดินแดนที่เป็นพื้นแผ่นดินใหญ่  จนถึงบริเวณหมู่เกาะในเวียดนาม
   ภาพเขียนสีพิธีบูชาบรรพบุรุษขอความอุดมสมบูรณ์ บน “ผาลาย” ในมณกวางสี ประเทศจีน


ลายเส้นคนบนหน้ากลองมโหระทึก พบที่เวียดนาม

วัตถุประสงค์ในการผลิตกลองมโหระทึก
1.ใช้เป็นเครื่องแสดงฐานะความมั่งคั่ง 
พวกเลี่ยว (Liao) ในประเทศจีนเชื่อว่า  การมีกลองมโหระทึกใบใหญ่  จะได้รับการยกย่องนับถือเป็นหัวหน้าหมู่บ้าน  หรือผู้นำหมู่บ้าน (Tu-lao)และจะเป็นผู้ที่เพื่อนบ้านให้ความเคารพนับถือ  พวกข่าละเม็ด  เป็นกลุ่มชนในแขวงหลวงพระบาง ประเทศลาว  เชื่อว่าถ้าผู้ใดมีกลองมโหระทึก       2 ใบ กระบือ 2 ตัว จะได้รับการยกย่องเป็น  เล็ม(ตำแหน่งขุนนางที่ไม่มีการสืบสกุล)  พวกเย่ห์ (Yueh) ต้นตระกูลกลุ่มชนเสื้อสายญวน เชื่อว่า กลองมโหระทึกเป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจของหัวหน้า
 2. ใช้เป็นวัตถุสำคัญในการประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับความตาย
พวกข่าละเม็ด มีพิธีเกี่ยวกับการฝังศพเมื่อผู้เป็นเจ้าของกลองมโหระทึกตายและไม่มีทายาท  ญาติจะต้องช่วยกันทุบกลองมโหระทึกของผู้ตาย  จากนั้นก็เก็บเศษชิ้นส่วนกลองใส่ลงในหลุมฝังศพของผู้ตาย  ชนพื้นเมืองในเวียดนามมีความเชื่อเกี่ยวกับกลองมโหระทึกว่า  เมื่อหัวหน้าครอบครัวตายลงทายาทหรือญาติจะนำกลองมโหระทึกมาแขวนเหนือศพ  เมื่อนำอาหารไปเซ่นให้แก่ผู้ตายจะต้องตีกลองใบนั้นทุกครั้ง  กะเหรี่ยงในพม่าและทางภาคตะวันตกของไทย  นิยมตีกลองมโหระทึกในงานศพเพื่อเรียกวิญญาณของผู้ตาย  ซึ่งเชื่อว่าหลังความตายวิญญาณจะแปลงร่างเป็นนก  นอกจากนี้ยังใช้กลองมโหระทึกเป็นแท่นวางเครื่องสังเวย  ประกอบด้วยเขาสัตว์และข้าว
3. ใช้ตีเป็นสัญญาณในการสงคราม
แม่ทัพชาวจีนใช้กลองมโหระทึกในการทำสงครามโดยตีกลอง บริเวณน้ำตก  เสียงกลองนั้นจะสะท้อนเสียงดัง ทำให้ข้าศึกเข้าใจว่ามีกองทหารจำนวนมาก  อันเป็นการข่มขวัญข้าศึกและเป็นการสร้างความหึกเหิมแก่ทหารด้วย   ส่วนแม่ทัพเลี่ยวตีกลองมโหระทึกเพื่อรวบรวมไพร่พลออกศึก  มีหลักฐานทางโบราณคดีที่ขุดพบบนเกาะสุมาตรา   ประเทศอินโดนีเซีย พบประติมากรรมรูปนักรบมีกลองมโหระทึกแขวนอยู่ทางด้านหลัง  บางครั้งยังมีการตีกลองมโหระทึกเพื่อแสดงถึงชัยชนะอีกด้วย
4. ใช้ตีในพิธีกรรมขอฝน
เมื่อพิจารณาจากรูปสัตว์ซึ่งประกอบที่ส่วนหน้ากลองและด้านข้างกลองมโหระทึก  เช่น  กบ  หอยทาก  ช้าง  และจักจั่น พบว่า  ล้วนมีความเกี่ยวข้องกับฝนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง  รูปกบที่ปรากฏบนหน้ากลองมโหระทึก  กลุ่มชนชาวจีนตอนใต้เชื่อว่า  สัตว์ประเภทนี้สามารถบอกเหตุการณ์ล่วงหน้าได้ว่าจะมีฝนตกหรือไม่  เนื่องจากธรรมชาติของกบและคางคกที่เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำมีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอากาศ  เมื่อฝนตกกบจะออกจากโพรงดิน  ดังนั้นในพิธีขอฝนจึงมีกบและคางคกเข้ามาเกี่ยวข้อง  ความเชื่อดังกล่าวปรากฏในกลุ่มชนขมุที่จะตีกลองมโหระทึก  หากเกิดสภาวะฝนแล้งและการอดยาก
5. ใช้ตีเพื่อเพื่อการบำบัดโรคและขับไล่ภูตผี
กลุ่มชนเย่ห์ (Yueh)มีความเชื่อเกี่ยวกับการตีกลองมโหระทึกว่า  เป็นการชุมนุมเทวดา  เพื่อการบำบัดรักษาโรคภัย  และขับไล่สิ่งชั่วร้าย  พวกข่าละเม็ดในประเทศลาวตีกลองมโหระทึกเมื่อเก็บเกี่ยวและนวดข้าวเสร็จเพื่อสังเวยผีบรรพบุรุษ  เชื่อว่าเสียงกลองจะนำความยินดีแก่ผีบรรพบุรุษและไปสถิตที่ยุ้งข้าวจะช่วยคุ้มครองรักษาข้าวไม่ให้ถูกขโมยและไม่มีสัตว์ต่างๆมาแทะกินข้าวที่เก็บไว้
6. ใช้ในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ
ในประเทศพม่าตีกลองมโหระทึกในงานพิธีกลุ่มของชนพื้นเมือง  ส่วนในประเทศไทยนั้นเคยใช้ตีในงานมงคลตามวัดและใช้ตีในงานราชพิธีด้วย นอกจากนั้นยังใช้เป็นเครื่องดนตรีประกอบพิธีการแต่งงาน  ใช้ตีในพิธีการออกล่าสัตว์หรือจับสัตว์น้ำ  หรือเพื่อให้ผลผลิตทางด้านเกษตรมีความอุดมสมบูรณ์
 ภาพลายเส้นจาก “ผาลาย”วงกลมมีแฉกตรงกลางคือมโหระทึก


ชาวจ้วงประโคมตีมโหระทึกในพิธีบูชากบขอฝนเพื่อความอุดมสมบูรณ์
เทคโนโลยีผลิตกลองมโหระทึก
วิธีการผลิตกลองมโหระทึกนั้น ยังเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักวิชาการ  ทั้งนี้เนื่องจากการขุดค้นทางโบราณคดีหลายแห่งนั้น  ยังไม่พบหลักฐานที่เป็นชิ้นส่วนของเบ้าหลอมกลองแต่อย่างใด  ได้มีการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับกรรมวิธีการหล่อกลองมโหระทึกไว้ว่า  กลองมโหระทึกที่ผลิตขึ้นในสมัยแรกนั้น  ขั้นตอนการหล่ออาจใช้กรรมวิธีคล้ายการหล่อระฆังด้วยพิมพ์ชิ้น  จากนั้นนำมาเชื่อมต่อ  และตกแต่งรูปทรงกลองมโหระทึกที่สมบูรณ์  ส่วนกลองมโหระทึกที่ผลิตขึ้นในสมัยหลัง  อาจใช้กรรมวิธีการหล่อด้วยการแทนที่โลหะด้วยขี้ผึ้ง (Lost Wax or Cire Perdue)  ทำให้ลักษณะรูปทรงและลวดลายบนกลองมโหระทึกในรุ่นหลังมีความประณีต  VU NGOC THU นักวิชาการชาวเวียดนาม เสนอว่า กลองมโหระทึกในวัฒนธรรมดองซอนของเวียดนามผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีการหล่อชนิดแทนที่โลหะด้วยขี้ผึ้ง (Lost Wax or Cire Perdue)  โดยใช้ไม้ไผ่สานและดินเหนียวยาทำเป็นโครงเพื่อขึ้นรูปกลอง  ซึ่งแบ่งเป็นช่วงบนของกลอง และฐานกลอง
ในประเทศไทยจากการสำรวจพบกลองมโหระทึกในจังหวัดตราดและกลองมโหระทึกจากแหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว  จังหวัดชุมพร ฯลฯ  มีร่องรอยของเครื่องจักสาน  และแกลบข้าวติตอยู่บนผิวหน้ากลอง  ซึ่งสนับสนุนข้อสันนิษฐานของนักวิชาการชาวเวียดนามในเรื่องกรรมวิธีการผลิตกลองมโหระทึก  โดยขั้นตอนการหล่อกลองมโหระทึกด้วยกรรมวิธีแทนที่โลหะด้วยขี้ผึ้ง  มีลำดับขั้นตอนโดยสังเขปดังนี้
1. ใช้ไม้ไผ่ทำเป็นโครงรูปกลอง  นำดินเหนียวผสมกับแกลบแล้วพอกเป็นรูปร่าง  จากนั้นใช้ดินเหนียวผสมมูลวัวพอกเข้าอีกชั้นหนึ่ง  ทิ้งไว้พอหมาดๆจึงใช้ไม้แบนตีให้เรียบเสมอกัน  และจะต้องไม่ให้มีเศษขยะใดๆติดอยู่
2. ใช้ขี้ผึ้งพอกเป็นรูปกลองให้เสมอกัน  แล้วใช้ไม้ซึ่งแกะสลักเป็นลวดลายต่างๆ ตามต้องการ ตีประทับบนขี้ผึ้งที่พอกไว้
3. ใช้ดินเหนียวเหลวที่ได้รับการเตรียมเป็นอย่างดี โดยการนำดินเหนียวที่แห้งสนิทดีแล้วมาตำให้ละเอียดแล้วใช้ผ้ากรองแล้วนำไปผสมน้ำ จึงพอกบนขี้ผึ้ง 3 ชั้น แล้วนำดินเหนียวแห้งหมาดๆ ผสมกับมูลวัว  แล้วพอกเป็นรูปกลองให้หนาตามต้องการ
4.เมื่อแห้งดีแล้วให้ทำรูที่ตีนกลองเพื่อให้ขี้ผึ้งที่ละลายไหลออกได้  จากนั้นเอากลองไปอังหรือสุมไฟให้ร้อนพอที่จะให้ขี้ผึ้งละลาย  เมื่อขี้ผึ้งละลายออกหมดแล้ว  ให้เอาเบ้ากลองที่เป็นดินและโครงไม้อยู่นั้นไปเผาไฟให้สุกจนทั่ว
5.ในขณะที่ยังร้อนอยู่นั้น  เทสำริดลงในเบ้ากลองทิ้งไว้จนกระทั่งเย็น  จึงค่อยกะเทาะดินที่เป็นเบ้าออก
6.จากนั้นตกแต่งผิวและลวดลายต่างๆ และเชื่อมต่อส่วนรายละเอียด เช่น ประติมากรรมลอยตัวขนาดเล็กบนหน้ากลอง  ด้านข้างกลอง ฯลฯ ตามตำแหน่งที่ต้องการ
กลองมโหระทึกในประเทศไทย
ประเทศไทยมีหลักฐานปรากฏชัดเจนว่ามีการผลิตและใช้กลองมโหระทึกมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในยุคโลหะประมาณ 2,500- 2,100  ปีมาแล้ว  ในสมัยประวัติศาสตร์กลองมโหระทึกในประเทศไทยยังเป็นสัญลักษณ์ของพระเจ้าแผ่นดิน  โดยมีหลักฐานแสดงถึงการใช้กลองมโหระทึก  เช่น  ในหนังสือไตรภูมิพระร่วงสมัยสุโขทัย  กล่าวว่ามีการใช้กลองมโหระทึกกันแล้ว  แต่จะเรียกว่า  “มหรทึก”  ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยามีการกล่าวถึงชื่อกลองมโหระทึกในกฎมนเฑียรบาล   ซึ่งประกาศใช้ในแผ่นดินสมันนั้น   แต่เปลี่ยนเป็นชื่อเรียกว่า  “หรทึก”  และใช้ตีในงานราชพิธีที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและที่เกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์ของราชอาณาจักร  ขุนนางที่ทำหน้าที่ตีมโหระทึกมีตำแหน่งเป็น “ขุนดนตรี”    จนในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ เรียกชื่อกลองดังกล่าวว่า  “มโหระทึก”  และเรียกต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน  ทั้งยังมีการใช้กลองมโหระทึกในงานพระราชพิธีต่างๆ  เช่น  พระราชพิธีฉัตรมงคล  หรืองานรัฐพิธีต่างๆ อีกด้วย
กลองมโหระทึกในประเทศไทย จากการสำรวจเบื้องต้นที่ผ่านมา (พ.ศ.2541-2545)  ที่พบแล้วนำมาจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติตามส่วนภูมิภาคต่างๆ ดังนี้
  • ภาคกลางสำรวจพบ 6 รายการ ในจังหวัดตราด ราชบุรี และกาญจนบุรี
  • ภาคเหนือสำรวจพบ 8 รายการ ในจังหวัดอุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย และน่าน
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบ 7 รายการ ในจังหวัดกาฬสินธุ์ มุกดาหาร นครพนม อุบลราชธานีและเมืองเวียงจันทน์ ประเทศลาว 1 รายการ
  • ภาคใต้ 11รายการ  ในจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี  นครศรีธรรมราชและสงขลา
นอกจากนี้ยังพบกลองมโหระทึกไม่ทราบแหล่งที่มาอีกจำนวนหนึ่ง
โดยรายละเอียดของกลองที่พบมีรูปลายดาวหรือดวงอาทิตย์ 10 – 16 แฉกแล้วแต่ขนาดกลอง มีลายปลาว่ายทวนน้ำ  บุคคลสวมเครื่องประดับขนนก  เรือ  นกกระสาบินทวนเข็มนาฬิกา  นกยูง ลายเลขาคณิตและลายอื่นๆ อีกมากมาย  บนริมหน้ากลองบางใบมีประติมากรรมรูปกบ บางใบซ้อนกัน 2 – 6 ตัว ประจำทั้ง 4 ทิศ  ส่วนด้านข้างกลองบางใบมี ช้าง หอยทาก จักจั่น  ซึ่งมีขนาดเล็กมากเดินตามกันเป็นแถวด้านใดด้านหนึ่ง
นักโบราณคดีได้ให้ข้อสรุป กลองมโหระทึกเป็นวัฒนธรรมที่โดดเด่นอย่างหนึ่งในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นวัฒนธรรมความเชื่อของกลุ่มชนโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ต่อเนื่องถึงสมัยต้นประวัติศาสตร์ การพบกลองมโหระทึกในประเทศไทยเป็นหลักฐานที่ชี้ให้เห็นการรับรูปแบบวัฒนธรรมมา แม้จะยังชี้ชัดไม่ได้ว่านำมาเพื่อวัตถุประสงค์ใด ทั้งในแง่พิธีกรรมต่างๆ  แต่จากการศึกษาลักษณะของแหล่งที่พบกลองมโหระทึกในประเทศไทย จะอยู่ในบริเวณเนินดินใกล้แหล่งน้ำ  แสดงถึงการเลือกสถานที่ความอุดมสมบรูณ์ และพบบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลอาจเป็นนัยยะแสดงถึงความสัมพันธ์ในทางวัฒนธรรมของกลุ่มชนในวัฒนธรรมร่วมที่มีการใช้กลองนี้ เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง  และแสดงให้เห็นว่าพื้นที่ในเขตนั้นๆ เป็นชุมชนที่มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มและมีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีในเรื่องการผลิตทางด้านโลหะกรรม  และมีการประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับกลุ่มชนอื่นๆ ภายนอก  จนกระทั่งมีการแลกเปลี่ยนทางด้านวัฒนธรรมและการเผยแพร่ความเชื่อต่อกัน
ในปัจจุบันประเทศไทยยังคงมีการประโคมตีกลองมโหระทึกในงานพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญที่ท้องสนามหลวง ซึ่งนับได้ว่าเป็นพิธีการที่เกี่ยวข้องกับการทำนายฟ้าฝนในและเกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์ของข้าวในแต่ละปี  สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยโบราณ
ภาพลายเส้นด้านหน้า

                                          

วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

จะเข้

สวัสดีครับวันนี้จะพาทุกท่านไปรู้จักเครื่องดนไทยกันนะครับ..คือจะเข้..ไปดูประวัติความเป็นมากันเลยครับ!!

ประวัติของจะเข้


ประวัติและความเป็นมาของจะเข้

ประวัติและความเป็นมาของจะเข้นั้น ได้มีผู้รู้ได้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของจะเข้ไว้หลากหลาย  สามารถยกตัวอย่างได้ดังนี้

          สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคกลาง เล่ม ๓ พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้กล่าวถึงความเป็นมาของจะเข้ ไว้ในหมวด จะเข้: เครื่องดนตรี ไว้ดังนี้ (มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพานิชย์, ๒๕๔๒ หน้า ๑๓๗๙)

          “จะเข้นี้  สันนิษฐานกันว่าเป็นเครื่องดนตรีที่ไทยเราได้แบบมาจากมอญ ก็น่าจะเป็นจริง  เพราะเคยได้เห็นจระเข้ของมอญ  ซึ่งทำรูปตอนด้านกระพุ้งเสียงเป็นหัวจระเข้  ตั้งอยู่ในพิพิธภัณฑ์เมืองย่างกุ่ง  สหภาพพม่า บอกว่าเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่มาก  ถ้าของเดิมมีรูปเป็นเช่นนี้คงเรียกว่าจระเข้มาก่อนเช่นเดียวกับพิณอินเดีย  ซึ่งมีรูปเป็นนกยูง  และเรียกว่า  “มยุรี” ภายหลังคงเกรงว่าจะเรียกชื่อไขว้เขว จึงทำให้บัญญัติชื่อเสียใหม่ว่า “จะเข้” จะได้ไม่ซ้ำกับ “จระเข้” สัตว์มีชีวิต”

         อุดม อุดมรัตน์ ได้กล่าวถึงความเป็นมาของจะเข้ ในหนังสือเรื่อง ดุริยางคดนตรีจากพระพุทธศาสนา โดยมีใจความสรุปได้ว่า  จะเข้ เป็นเครื่องดนตรีที่เปล่งเสียงโดยใช้ไม้ดีด เรียกว่า โคธะ ซึ่งตามรูปศัพท์หมายถึงเหี้ย หรือ ดังนั้นรูปร่างของจะเข้แต่เดิมจึงคล้ายกับจระเข้  ซึ่งได้กล่าวไว้ในมหาชาติคำหลวง ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ตอนหนึ่งว่า “…โคธาปริวเทนฺติกา แจรงทรอทรไนสารนยงยิ่ง จเข้ดิ่งสารสวรรค์…” ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับพวกรามัญหรือพวกมอญ จึงทำให้สันนิษฐานว่าจะเข้รับมาจากมอญ และการถ่ายเทวัฒนธรรมกันนั้น สิ่งที่ถือว่าเป็นของชาติใด ย่อมมีการแกะสลักหรือวาดภาพไว้ ส่วนจะเข้นั้น มิได้ปรากฏอยู่ในภาพจิตรกรรมฝาผนังใดเลย ดังนั้นจึงถือว่าจะเข้เป็นของต่างชาตินั้นเอง (อุดม อุดมรัตน์, ๒๕๒๙ หน้า ๑๐๔ -๑๐๖)

          พูนพิศ  อมาตยกุล  ได้กล่าวถึงความเป็นมาของจะเข้ ในหนังสือเรื่อง ดนตรีวิจักษ์  ไว้ดังนี้ (พูนพิศ อมาตยกุล, ๒๕๒๙ หน้า ๓๘)

          “จะเข้ เป็นเครื่องดีดที่วางราบไปตามพื้น เวลาดีดนั่งขวางกับตัวจะเข้ มีสามสาย เสียงไพเราะ และมีเทคนิคการดีดมากมายหลายแบบ ชวนให้เกิดความน่าฟังเป็นอย่างยิ่ง เดิมใช้เล่นเดี่ยว เพิ่งจะนำมาประสมวงเป็นวงในสมัยรัชกาลที่๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง”

เฉลิมศักดิ์   พิกุลศรี ได้กล่าวถึงจะเข้ ในหนังสือ สังคีตนิยมว่าด้วยดนตรีไทย ไว้ดังนี้    (เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี, ๒๕๓๐ หน้า ๒๓)

          “…จะเข้เป็นเครื่องดนตรีที่วิวัฒนาการมาจากกระจับปี่ ซึ่งตามปกติแล้วการเล่นกระจับปี่คล้ายกับการเล่น Guitar โดยต้องเอาตัวของกระจับปี่วางบนตักแล้วดีด ภายหลังคิดว่าได้นำมาวางตามแนวนอนแล้วลองดีดดูจึงพบว่าสะดวกกว่าการดีดตามแนวตั้งมาก จึงได้เกิดจะเข้ขึ้นมาในที่สุด”
          เกียรติศักดิ์  ทองจันทร์  ได้กล่าวถึงจะเข้ ไว้ในเอกสารประกอบการสอน รายวิชา ประวัติการดนตรีไทย เรื่องประวัติวงมโหรี  ซึ่งปรากฏจะเข้ชัดเจนในวงมโหรีเครื่อง ๘ ในสมัยรัตนโกสินทร์ ไว้ดังนี้ (เกียรติศักดิ์  ทองจันทร์, ๒๕๔๖ หน้า ๑๙ - ๒๐)
          “ …เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตสินทร์ จึงได้นำเอาระนาดแก้ว  และกระจับปี่ออก เนื่องจากกระจับปี่นั้นเวลาบรรเลงต้องตั้งขึ้น  ทำให้ไม่สะดวกกับอีกทั้งเสียงเบา  เมื่อบรรเลงรวมกันแล้วแทบจะไม่ได้ยิน  เพราะถูกเครื่องดนตรีชิ้นอื่น ๆ กลบเสียงหมด  ดังนั้นกระจับปี่จึงถูกลดบทบาทลงในวงมโหรี  โดยเอาจะเข้เข้ามาประสมแทน ซึ่งจะเข้มีคุณสมบัติที่เหมาะสม  คือ  มีลักษณะวางราบกับพื้นสามารถบรรเลงได้สะดวกและมีเสียงดังชัดเจน  ทำให้ขนาดของวงขยายใหญ่ขึ้นกว่าเดิม  และเสียงของวงมีความหนักแน่นขึ้น”
          จากความเป็นมาของจะเข้ตามที่ผู้รู้ได้กล่าวมาข้างต้นนั้น สามารถสรุปได้ว่า  จะเข้ เกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น พัฒนามาจากพิณหรือกระจับปี่  ซึ่งได้รับแบบมาจากของมอญปรากฏหลักฐานในบทมหาชาติคำหลวง ซึ่งเดิมทีรูปร่างจะเข้นั้นคงมีลักษณะคล้ายกับจระเข้ และมีการประสมวงในวงเครื่องสายในหมู่ราษฎร์เพื่อความสนุกบันเทิงเท่านั้นยังไม่เป็นแบบแผน  ในสมัยนั้นจะเข้มีความนิยมแพร่หลายมาก แม้แต่ในเขตพระราชฐานจึงมีกฎหมายห้ามปรากฏหลักฐานในกฎมณเฑียรบาล สมัยพระบรมไตรโลกนาถ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๒  แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  ได้ปรากฏจะเข้ในวงมโหรีขึ้น   ด้วยคุณสมบัติของจะเข้ ที่มีลักษณะวางราบกับพื้นเอื้อต่อการบรรเลงได้อย่างสะดวก   มีเสียงดังชัดเจน  จึงทำให้กระจับปี่ซึ่งเป็นเครื่องดีดในวงมโหรีแต่เดิมนั้นถูกลดบทบาทลง จะเข้จึงได้รับการพัฒนาทั้งในรูปร่างให้มีความสวยงามมากขึ้น ตลอดจนกลวิธีในการบรรเลงต่าง ๆ    ทำให้จะเข้มีบทบาทมากขึ้นในวงเครื่องสาย     และวงมโหรีจนถึงปัจจุบัน

ลักษณะของจะเข้

ลักษณะของจะเข้

 “จะเข้” เป็นเครื่องดนตรีไทย ประเภทเครื่องดีด บรรเลงโดยการวางดีดตามแนวนอน สารานุกรมศัพท์ดนตรีไทยของราชบัณฑิตยสถานได้กล่าวถึงจะเข้ไว้ว่า “เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีดสันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลมาจากมอญ ทำเป็นรูปร่างเหมือนจระเข้ทั้งตัว มีสายขึงดีดอยู่ด้านบน”
       ตัวของจะเข้นั้นทำด้วยไม้ท่อนขุดเป็นโพรงอยู่ภายใน นิยมใช้ไม้แกนขนุนเพราะให้เสียงกังวานดี ด้านล่างเป็นพื้นไม้ โดยมากใช้ไม้ฉำฉา เจาะรูไว้เพื่อให้เสียงออกดีขึ้น มีเท้าติดอยู่กับพื้นไม้ด้านล่างตัวทั้งหมด ๕ เท้า อยู่ทางด้านที่เป็นกระพุ้งหรือด้านขวามือของผู้บรรเลง ๔ เท้า และด้านรางไหมหรือด้านซ้ายมือของผู้บรรเลงอีก ๑ เท้า
        จะเข้นั้น มีสาย ๓ สาย คือ สายที่อยู่ชิดทางด้านนอกตัวเรียกว่าสายเอก นิยมทำด้วยเอ็นหรือไหม  สายถัดมาอยู่ตรงกลาง เรียกว่าสายทุ้ม ซึ่งก็ทำด้วยสายเอ็นหรือไหมเช่นเดียวกัน ส่วนสายในสุดด้านติดผู้บรรเลง ทำด้วยลวดทองเหลือง เรียกว่าสายลวด สายทั้ง ๓ สายนั้นขึงจากหลักที่อยู่บนด้านที่เป็นกระพุ้งของตัวจะเข้ พาดผ่านทับบนโต๊ะ (ทำด้วยกล่องทองเหลืองลักษณะกลวง) แล้วขึงไปพาดกับหย่องและสอดผ่านรางไหมลงไปพันกับก้านลูกบิดที่อยู่ทางด้านท้ายของตัวจะเข้ สายแต่ละสายจะพันอยู่กับลูกบิดสายละอัน


โต๊ะทำหน้าที่ขยายเสียงของจะเข้ให้คมชัดขึ้น โดยเมื่อนำชิ้นไม้ไผ่เล็ก ๆ ที่เหลาให้แบน ที่เรียกว่าแหน สอดเข้าไประหว่างสายจะเข้และผิวด้านบนของโต๊ะให้พอดีได้ส่วนกันจะช่วยทำให้เกิดเสียงกังวานอย่างที่เรียกว่า “กินแหน”
        ระหว่างรางด้านบนของจะเข้กับสายจะเข้จะมีชิ้นไม้ทำเป็นสันหนาเรียกว่านม ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น ๑๑ นม วางเรียงไปตามแนวยาวเพื่อใช้รองรับการกดจากนิ้วมือขณะที่ทำการบรรเลง นมนี้จะมีขนาดสูงต่ำลดหลั่นกันไป และเมื่อกดในขณะบรรเลง ก็จะทำให้เสียงที่ได้มีเสียงสูง - ต่ำต่างกันไป นมที่ทำให้เกิดเสียงสูงจะอยู่ค่อนไปทางด้านกระพุ้งของจะเข้หรือทางด้านขวามือของผู้บรรเลง
        เวลาดีดจะเข้ จะใช้ไม้ดีดที่ทำด้วยงาหรือเขาสัตว์กลึงเป็นท่อนกลมและมีปลายเรียวแหลมมนปัดสายไปมา (คล้าย pick ที่ใช้ในการดีดกีตาร์) ไม้ดีดนี้จะต้องพัน (หรือเรียกว่าการ “เคียน”) ติดกับนิ้วชี้ในมือขวาให้แน่นขณะที่ทำการบรรเลง ส่วนมือซ้ายใช้สำหรับกดนิ้วลงบนสายจะเข้ถัดจากนมไปข้างซ้ายนิดหน่อยเพื่อเปลี่ยนให้เกิดเสียงสูงต่ำตามที่ต้องการ



วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

สะล้อ

ขอเชิญทุกท่านมารู้จักสะล้อ..ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีไทยพื้นบ้านภาคเหนือ..ซื่งเป็นเครื่องประเภทสีครับ..เชิญทุกท่านมารู้จักกันเลยนะครับ..ไปดูกันเลย!!

สะล้อ

  สะล้อ (คำเมือง: สะล้ออักษรล้านนา4.png) เป็นเครื่องดนตรีเครื่องสีพื้นเมืองล้านนาเพียงชนิดเดียว ซึ่งมีทั้ง 2 สายและ 3 สาย เป็นตัวหลักมักนิยมใช้ขึ้นนำเพลงในวง สะล้อ ซอ ซึง สะล้อมีขนาด 3 ขนาดได้แก่ เล็ก กลาง ใหญ่ ซึ่งมีหน้าที่ในการเล่นในวงไม่เหมือนกัน ส่วนมากมักนิยมผสมกับซึ่ง และขลุ่ยล้านนา มีเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ สามารถสื่อเล่าถึงอารมณ์ที่ผู้เล่นต้องสื่อได้ หรือการสีเลียนเสียงมนุษย์ก็สามารถทำได้ สะล้อเป็นเครื่องดนตรีที่ละเอียดอ่อน เพราะชนิดของพื้นผิวที่วางสะล้อเมื่อเล่นก็มีผลต่อเสียงที่ออกมาทั้งหมด
ประวัติ สะล้อ (คำเมือง: สะล้ออักษรล้านนา4.png) เป็นเครื่องดนตรีเครื่องสีพื้นเมืองล้านนาเพียงชนิดเดียว ซึ่งมีทั้ง 2 สายและ 3 สาย เป็นตัวหลักมักนิยมใช้ขึ้นนำเพลงในวง สะล้อ ซอ ซึง สะล้อมีขนาด 3 ขนาดได้แก่ เล็ก กลาง ใหญ่ ซึ่งมีหน้าที่ในการเล่นในวงไม่เหมือนกัน ส่วนมากมักนิยมผสมกับซึ่ง และขลุ่ยล้านนา มีเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ สามารถสื่อเล่าถึงอารมณ์ที่ผู้เล่นต้องสื่อได้ หรือการสีเลียนเสียงมนุษย์ก็สามารถทำได้ สะล้อเป็นเครื่องดนตรีที่ละเอียดอ่อน เพราะชนิดของพื้นผิวที่วางสะล้อเมื่อเล่นก็มีผลต่อเสียงที่ออกมาทั้งหมด


โครงสร้างสะล้อ



โครงสร้างของสะล้อ เรียงจากบนไปล่าง
-หัวสะล้อ มีการกลึงเป็นรูปทรงต่าง ๆ เช่น ทรงน้ำต้น ทรงดาบสะหรีกัญไชย ฯลฯ
-ช่วงลูกบิด เป็นช่วงที่ยึดลูกบิดเข้ากับตัวสะล้อ
-ลูกบิด มีหน้าที่ปรับเสียงของสะล้อ
-รัดอก ไว้รวบสายสะล้อจากลูกบิดให้ใกล้กัน เพื่อให้อำนวยต่อการเล่น
-ลำตัว ช่วงที่มีไว้ให้มือซ้ายสำหรับกดลงบนสาย เพื่อเล่นเป็นโน้ตต่างๆ
-สายสะล้อ เป็นสายชนิดเดียวกับสายกีตาร์ มี 2 สายหรือ 3 สาย
-กะโหลกสะล้อ(กะโหล้ง) เพื่อเป็นทางออกของเสียง
-หย่อง(ก๊อบสะล้อ) อยู่ชิดกับตาดสะล้อ(อาศัยแรงฝึดและแรงกดจากสายที่ขึงผ่าน)เป็นตัวพาดสายผ่านเพื่อรับการสั่นสะเทือนของสายให้มีเสียง
-ตาดสะล้อ เป็นไม้แผ่นบางๆ ที่ปิดกะโหลกซอ เป็นตัวรับการสั่นสะเทือนจากสายที่ผ่านหย่อง ทำให้เกิดเป็นเสียงขึ้น
-ขาสะล้อ เป็นตัวรับน้ำหนักสะล้อและน้ำหนักมือของผู้เล่น
-คันชัก(ก๋งสะล้อ) เป็นตัวสีทำให้สายสั่นสะเทือนเพื่อให้เกิดเสียงได้
-สายหางม้า(สายก๋ง) สมัยก่อนใช้หางม้า แต่ปัจจุบันใช้นิยมไนลอน สัมผัสกับสายสะล้อเวลาสีเพื่อให้เกิดเสียง ต้องใช้ยางสนถูเพื่อให้เกิดความฝึดก่อน

ขนาดของสะล้อ คือ
- สะล้อใหญ่
- สะล้อกลาง
- สะล้อเล็ก
การทำสะล้อ
การทำสะล้อ

  นับตั้งแต่การเลือกไม้ไปจนถึงผลิตเป็นสะล้อ มีความสำคัญ เพราะให้คุณภาพเสียงที่แตกต่างกัน นิยมใช้ไม้ประดู่ ไม้ชิงชัน ไม้พญางิ้วดำ เป็นต้น กระโหลกเสียงสะล้อ การเลือกใช้กะลามะพร้าว หากเลือกกะลาที่ยังไม่ค่อยแก่นัก เสียงจะออกทุ้ม ๆ[2] หากเลือกกะลาที่แก่ จะให้คุณภาพเสียงที่แกร่ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับช่างผู้ผลิต ส่วนตาดสะล้อเป็นส่วนที่สำคัญมากเพราะการเลือกใช้ไม้ที่มาทำมีผลต่อการสั่นสะเทือนของไม้ส่งผลให้ ความกังวาล ความลึกของเสียง ความดัง ฯลฯ ของตัวเครื่องดนตรี
 การทำสะล้อ ไม่ปรากฏสูตรตายตัว ส่วนใหญ่ทำขึ้นโดยอาศัยเลียนแบบจากของเก่าและประสบการณ์ทางเสียงและรูปลักษณะ แต่พอจะอนุมานขนาดของสะล้อได้จากที่ปรากฏโดยทั่วไปดังนี้
- สะล้อใหญ่ หน้ากะโหลกกว้าง ประมาณ 5.5 นิ้ว คันสะล้อวัดจากกะโหลกถึงหลักสะล้อยาว ประมาณ 15 นิ้ว
- สะล้อกลาง หน้ากะโหลกกว้าง ประมาณ 4.5 นิ้ว คันสะล้อวัดจากกะโหลกถึงหลักสะล้อยาว ประมาณ 13.5 นิ้ว
- สะล้อเล็ก หน้ากะโหลกกว้าง ประมาณ 3.5 นิ้ว คันสะล้อวัดจากกะโหลกถึงหลักสะล้อยาว ประมาณ 12 นิ้ว
บทบาทและลีลา
- สะล้อใหญ่ มีลักษณะร่วมทางเสียงระหว่างสะล้อเล็ก และสะล้อกลางแต่เสียงทุ้มต่ำบทบาทคล้ายคนมีอายุมากไม่ค่อยมีลีลาและลูกเล่นมากนัก
- สะล้อกลาง บทบาทคล้ายคนวัยกลางคน มีลีลาสอดรับกับสะล้อใหญ่และสะล้อเล็ก
- สะล้อเล็ก บทบาทคล้ายคนวัยคะนอง มีเสียงแหลมเล็ก ลีลาโลดโผน สอดรับกับเสียงซึงและขลุ่ย
การเล่น
การจับและการถือ
  การเล่นสะล้อจะใช้มือซ้ายจับที่ ตัวสะล้อโดยใช้ช่วงนิ้วระหว่างนิ้วโป้งและนิ้วชี้รับไว้ การจับต้องผ่อนคลายเป็นเรื่องสำคัญที่สุด หากจับแบบเกร็งมีผลเสียต่อกล้ามเนื้อได้ในระยะยาวและคุณภาพเสียงที่ผลิตออกมา ดังนั้นการผ่อนคลายนิ้วและบริหารนิ้วก่อเล่นจึงเป็นเรื่องที่ควรคำนึงถึงด้วย ตั้งสะล้อในด้านหน้าของตัวเองในท่าที่สะดวกที่สุด อาจเอียงซ้ายหรือขวาได้เล็กน้อย แต่ถ้ามากเกิดไปอาจดูไม่เหมาะสม มือขวาจะถือคันชักสะล้อที่ช่วงนิ้วโป้งกับนิ้วชี้ โดยลักษณะแบบวางลงไป ใช้นิ้วกลางประคองน้ำหนักช่วยนิ้วชี้ นิ้วนางกึ่งดันกึ่งแตะสายสายหางม้า ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อเพราะอาจเกิดอันตรายได้และนิ้วก้อยคีบสายหางม้าไว้ร่วมกับนิ้วนาง หรืออีกวิธีหนึ่งคือเก็บนิ้วก้อยไว้ไม่ใช้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสรีระร่างกายของผู้เล่น การลากคันชักสะล้อผ่านสายสะล้อ โดยนำมาวางไว้ที่ด้านบนกะโหลกเสียงให้สายหางม้าสัมผัสกับสายสะล้อ ควรกดน้ำหนักให้พอดี ไม่กดจนเสียงดังครวด เอี๊ยด ๆ (ยกเว้นในเทคนิคพิเศษ) ตรงปลายคันชักและต้นคันชักสะล้อ เวลาสีพยามยามอย่าให้ขึ้นสูงต่ำจนเกินไป ลากให้พอดีเสมอกัน

การกดนิ้วลงบนสายสะล้อ
ในสะล้อลูก 3
สายทุ้ม
สายเปล่าเป็นโน้ต โด
กดนิ้วชี้ลงไปเป็นโน้ต เร
กดนิ้วกลางลงไปเป็นโน้ต มี
กดนิ้วนางลงไปเป็นโน้ต ฟา
กดนิ้วก้อยลงไปเป็นโน้ต ซอล
สายเอก
สายเปล่าเป็นโน้ต ซอล
กดนิ้วชี้ลงไปเป็นโน้ต ลา
กดนิ้วกลางลงไปเป็นโน้ต ที
กดนิ้วนางลงไปเป็นโน้ต โด(สูง)
กดนิ้วก้อยลงไปเป็นโน้ต เร(สูง)

ในสะล้อลูก 4
สายทุ้ม
สายเปล่าเป็นโน้ต ซอล
กดนิ้วชี้ลงไปเป็นโน้ต ลา
กดนิ้วกลางลงไปเป็นโน้ต ที
กดนิ้วนางลงไปเป็นโน้ต โด
กดนิ้วก้อยลงไปเป็นโน้ต เร
สายเอก
สายเปล่าเป็นโน้ต โด(สูง)
กดนิ้วชี้ลงไปเป็นโน้ต เร(สูง)
กดนิ้วกลางลงไปเป็นโน้ต มี(สูง)
กดนิ้วนางลงไปเป็นโน้ต ฟา(สูง)
กดนิ้วก้อยลงไปเป็นโน้ต ซอล(สูง)

เทคนิคการเล่น
  การพรมนิ้ว คือการใช้นิ้วของโน้ตถัดไปแตะถี่ ๆ ลงบนสาย เพื่อให้เกิดความไพเราะยิ่งขึ้น ในกรณีสายเปล่านิยมใช้นิ้วกลางพรมนิ้ว(โน้ตตัว ที) การพรมนิ้วเป็นเอกลักษณ์ของสะล้อ
การรูดสาย โดยใช้นิ้วที่กดในโน้ตนั้น ๆ รูดขึ้น หรือรูดลงไปโน้ตที่สูงหรือต่ำกว่า เพื่อให้ได้เสียงตามต้องการที่ผู้เล่นต้องการ
การเกี่ยวสาย โดยใช้นิ้วถัดไปของนิ้วที่กดโน้ตนั้น รูดสายข้างล่างขึ้นมาจนถึงโน้ตปัจจุบันที่กด
การขยี้สาย ใช้นิ้วทั้งหมดกดไล่ตั้งแต่นิ้วก้อยขึ้นมาถึงนิ้วชี้ อย่างรวดเร็ว
การสะบัดนิ้ว ใช้นิ้วทั้งหมด(หรือนิ้วกลางและนิ้วชี้)กดและไล่นิ้วสะบัดปล่อยทีละนิ้วขี้นมาอย่างรวดเร็วจนเป็นโน้ตสายเปล่าหรือโน้ตที่ต้องการ
การขยี้คันชัก โดยใช้หนึ่งคันชักกับโน้ตหนึ่งตัว หลาย ๆ โน้ต ติดกันเร็ว ๆ ใช้ในทำนองเพลงที่เร็ว
การส่ายรัวคันชัก คือการเล่นโน้ตหนึ่งตัวโดยสีเข้าออกสั้น ๆ เร็วมากจนเป็นการส่ายรัว เช่น ท่อนแรกของเพลง หมอกมุงเมือง หรือการเล่นสะล้อประยุกต์ดนตรีสากล เป็นต้น
การเล่นเปลี่ยนตัวโน้ต คือการเล่นโดยการใช้ตัวโน้ตอื่นแทนตัวโน้ตจริง ที่ผู้เล่นเห็นว่าเข้ากันและกลืนไปกับทำนองของเพลงนั้น ๆ เช่น จากโน้ต ฟซทดํ... เปลี่ยนเป็น ดํซทดํ... มฟซ มฟฟฟ... เปลี่ยนเป็น มฟซ ทซฟฟ... เป็นต้น ขึ้นอยู่กับทักษะและความชำนาญของผู้เล่นที่จะสร้างสรรค์ออกมา
การเพิ่มโน้ตในทำนอง นิยมเพิ่มในช่วงของตัวโน้ตที่ยาวผู้เล่นจะเพิ่มโน้ตในช่วงนั้นเพื่อเพิ่มความไพเราะให้บทเพลงมากยิ่งขึ้น เช่น ...ลฟลซ ลซ รม...รดรม ซลซม รด... เป็น ...ลฟลซ ลซ รม ซลดํล ซม รดรม ซลซม รด... ...ซดรม รม ซม รดร...ซดรม รม ซม รดร... เป็น ...ซดรม รม ซม รดร ซลซล ดํรํ...ซดรม รม ซม รดร... เป็นต้น

  การสีแบบอ่อนหวาน คือการเล่นโดยใช้เทคนิคของคันชัก ในการกดคันชักลากแบบผ่อนเบาหรือหนัก ในทำนองเพลงที่มีความอ่อนหวาน เพื่อเพิ่มอรรถรสในเพลง
  การสีแบบมีการยกจังหวะและดุดัน ในทำนองเพลงที่เร็ว เพลงประกอบการฟ้อนผีในความเชื่อสังคมล้านนา หรือเพลงที่มีจังหวะสนุกสนาน เช่น เพลงมอญลำปาง เพลงมวย(ท่อนเร็ว) คือการสีแบบลากยาวปกติสลับกับการสีแบบหยุด รวมไปถึงการลากคันชักที่หนัก(กดสายหางม้าแรงขึ้น)ตามจังหวะเพลงและกลอง
  การเลื่อนตำแหน่งนิ้วมือซ้าย การเลื่อนตำแหน่งไปในที่สูงขึ้น หรือต่ำลง จะใช้ทักษะการเล่นสูงพอสมควร โดยจะใช้แรงจากแขนและมือเป็นตัวนำนิ้วไป เพื่อป้องกันการเพื้ยน เช่น เลื่อนสูงขึ้นโดยใช้นิ้วเดิม ใช้นิ้วใหม่นิ้วถัดไปของนิ้วเดิม การเลื่อนต่ำลงด้วยนิ้วเก่า นิ้วใหม่ อาทิเช่น
หากต้องการเลื่อนตำแหน่งลงไปในตำแหน่งใหม่ที่ระดับเสียงสูงขึ้น โดยขณะนั้นใช้นิ้วกลางกดอยู่ ให้ใช้นิ้วชี้เลื่อนลงมา โดยใช้แรงจากมือและแขนเป็นตัวนำ
หากต้องการเลือนตำแหน่งขึ้นไปในตำแหน่งใหม่ที่ระดับเสียงต่ำลง โดยขณะนั้นใช้นิ้วชี้กดอยู่ ให้ใช้นิ้วกลางเลื่อนขึ้นไป โดยใช้แรงจากมือและแขนเป็นตัวนำ เป็นต้น
ทั้งนี้เป็นเพียงแค่ตัวอย่างเบื้องต้น ผู้เล่นสามารถคิดสร้างสรรค์ได้เพื่อให้เสียงออกมาตามที่ต้องการ

การตั้งสาย
ในปัจจุบันนิยมเล่นแบบ 2 สาย หลักการตั้งสายจะใช้การนับตัวโน้ตให้ได้หนึ่งห้องเต็มกล่าวคือ หากกดไป 3 ตัวโน้ตบนสายเอกแล้วให้เสียงตัวโน้ตเดียวกัน ก็เป็นลูกสาม หากกดไป 4 ตัวโน้ตบนสายเอกแล้วให้เสียงตัวโน้ตเดียวกัน ก็เป็นลูกสี่ จึงตั้งสายได้ดังนี้

- สะล้อลูก 3 คือ สายเอกเป็น ซอล สายทุ้มเป็น โด(นิยมตั้งกับสะล้อกลาง)

- สะล้อลูก 4 คือ สายเอกเป็น โด สายทุ้มเป็น ซอล(นิยมตั้งกับสะล้อใหญ่และเล็ก)

เพื่อไม่ให้เกิดการชน หรือการแย่งหน้าที่กันเล่นในวง จึงมีระบบการตั้งสายนี้ขึ้นมา และสามารถปรับเปลี่ยนได้หากผู้เล่นต้องการปรับโดยปรับเสียงสลับกันของสะล้อแต่ละขนาด แต่ไม่สามารถปรับเหมือนกันได้เนื่องจากจะไม่เกิดความไพเราะในการเล่นรวมเป็นวง

สะล้อเมืองน่าน
 สะล้ออีกประเภทหนึ่งได้แก่ สะล้อที่นิยมเล่นในจังหวัดน่านและแพร่ สะล้อดังกล่าวมีลักษณะต่าง ออกไปคือ มีลูก (นม) บังคับเสียงใช้บรรเลงร่วมกับซึงเรียกว่า “พิณ” (อ่านว่า “ปิน”) ประกอบการขับซอ น่าน ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะ สะล้อที่กล่าวมาทั้งหมดนิยมบรรเลงร่วมในวงสะล้อ-ซึง หรือเรียกกันว่าวง “สะล้อ ซอ ซึง” ซึ่งมีอยู่ ทั่วไปในภาคเหนือตอนบน
การดูแลรักษาสะล้อ
ความชื้น
ไม้ไม่สามารถรักษาสภาพของตัวเองได้ดีนักเมื่อถูกความชื้น แม้ว่าไม้จะคงรูปได้ดีขึ้นหลังจากที่ผ่านกระบวนการกลึงและตัด แต่ไม้ยังคงพองหรือบวมเมื่อถูกความชื้น หากมีน้ำซึมออกมาจากผิวไม้ ซึ่งส่งผลเสียต่อคุณภาพเสียงมากและทำให้อายุเครื่องดนตรีน้อยลง และหดตัวเมื่ออากาศแห้ง ไม้ที่ใช้ทำชิ้นส่วนบางอย่างของสะล้อจะคงรูปดีกว่าไม้ที่ใช้ทำส่วนอื่น ๆ นอกจากนั้น ไม้ทุกชนิดจะหดตัวในแนวขวางของลายไม้มากกว่าการหดตัวตามยาว

อุณหภูมิ
การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิเป็นสาเหตุที่ทำให้ไม้เกิดการขยายตัวและหดตัวเช่นเดียวกับวัตถุอื่นๆ ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาของอุณหภูมิและ ความชื้นในไม้ ควรจะเก็บสะล้ออย่างดี และอย่าวางไว้ไกล้รังสีความร้อนหรือวางถูกแสงแดดโดยตรง

การขนเคลื่อนย้าย
ถ้าเดินทางโดยรถยนต์ อย่าวางเครื่องสะล้อไว้ในกระโปรงท้ายรถ เพราะได้รับความร้อนมาก ทำให้ได้รับความเสียหาย กระบอกเสียงอาจแตกหัก ควรมีอุปกรณ์ป้องกันเพื่อกันรอยขีดข่วนต่างๆ รวมไปถึงชิ้นส่วนบางอันอาจหักได้

เมื่อต้องส่งเครื่องดนตรีไปทางพัสดุภัณฑ์ ให้คลายลูกบิดออกเล็กน้อยและใช้วัสดุนุ่มๆห่อหุ้มไว้เพื่อป้องกันการกระแทก

การบิดตัวของไม้
ธรรมชาติของไม้มีความยืดหยุ่นในตัวเอง อาจจะค่อย ๆ เปลี่ยนรูปร่างไปตามแรงที่มากระทำ ห้ามเก็บสะล้อโดยมีแรงบีบอัดหรือแรงกดจากภายนอก เพราะอาจทำให้เสียงรูปร่าง ความตรงของเครื่องดนตรีได้ การเก็บควรจะเก็บไว้ในที่ ๆ มีความชื้นน้อย และอุณหภูมิเหมาะสม โดยไม่ควรเก็บไว้ในกล่องหรือวัสดุใดที่ไม่มีอากาศถ่ายเท เพราะจะส่งผลต่อเนื้อไม้ ความสมบูรณ์ได้ในระยะยาว

การทำความสะอาด
การเช็ดทำความสะอาดตัวเครื่องและคันชักสะล้อด้วยผ้านุ่ม สะอาด หลังการเล่นทุกครั้งเป็นสิ่งที่ควรทำให้เป็นกิจวัตร อย่าให้มีคราบยางสนบนตัวสะล้อ ควรเช็ดออก เพราะว่าผงยางสนมีฤทธิ์ไปทำลายเนื้อไม้ได้ ดังนั้นจึงไม่ควรให้มีคราบยางสนเกาะ

คันชัก
เมื่อเล่นเสร็จแล้วควรเช็ดส่วนที่เป็นไม้ให้สะอาด ระวังอย่าสัมผัสกับส่วนที่เป็นหางม้า เพราะอาจจะไปลบยางสน ทำให้มีความฝึดน้อยลง เมื่อเวลาสีเสียงจะไม่สม่ำเสมอ


ที่มา:สะล้อ

ซึง

วันนี้จะพาทุกท่านมารู้จักเครื่องดนตรีไทยพื้นบ้านภาคเหนือ...เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ดีด..ก็จะมีเสียงไพเราะ..ไปดูกันได้เลย

ซึง


   เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีดอีกชนิดหนึ่งที่มี 4 สาย นิยมบรรเลงเล่นกันอย่างแพร่หลายในภาคเหนือซึ่งเดิมใช้เป็นเครื่องดนตรีประจำตัวของผู้ชาย สำหรับไปแอ่วสาว เช่นเดียวกับพิณเพี๊ยะ ต่อมาได้นำมาผสมวงร่วมบรรเลงกับสะล้อซอและปี่จุมเรียกวงนี้ว่า "ดนตรีพื้นเมืองเหนือหรือวงล้านนา" สามารถบรรเลงเพลงของชาวล้านนาได้อย่างไพเราะ ซึง มีรูปร่างบางอย่างคล้ายคลึงกับกระจับปี่ แต่เล็กกว่า

 มีส่วนประกอบดังนี้

1. กะโหลก ทำด้วยไม้แก่นเนื้อแข็งชิ้นเดียว ติดต่อกับคันทวนมีลักษณะแบนเป็นทรงรี ขุดคว้านตอนที่เป็นกะโหลกให้เป็นโพรงมีไม้แผ่นบาง ตรงกลางเจาะรูกว้างพอประมาณเพื่อระบายเสียงที่ดีดให้ก้องกังวาน ( บางทีเจาะเป็นรูปหัวใจ ) ปิดด้านหน้าส่วนด้านหลังตัน

2. คันทวนทำด้วยไม้แก่นเนื้อแข็งชิ้นเดียวกับตัวกะโหลกโดยทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านหลังเกลาลบเหลี่ยมด้านหน้าเรียบเพื่อติดนม ตอนปลายผายด้านข้างออกก่อนถึงปลายคันทวนด้านหน้าเจาะเป็นร่องยาว 2 ร่องสำหรับสายผ่านไปพันผูกที่ปลายลูกบิด และด้านข้างเจาะรูกลมด้านละ 2 รูเพื่อสอดใส่ลูกบิด

3. ลูกบิด ทำด้วยไม้เนื้อแข็งลักษณะกลม เรียวด้านหัวใหญ่ขนาดมือจับพอดีตรงกลางกลึงเป็นลูกแก้ว ตอนปลายเรียวเล็กเพื่อสอดใส่ในรูลูกบิดที่บริเวณปลายคันทวน

4. หย่องบน ทำด้วยไม้เล็กๆสูงกว่านมเล็กน้อยโดยติดต่อลงมาจากช่องสายผ่านเพื่อหนุนสายให้ลอยเหนือนม

5. ตะพานหรือนมทำด้วยไม้เล็กๆเหลาเป็นทรงสามเหลี่ยมติดที่ด้านหน้าคันทวนต่อจากหย่องบนเรียงลำดับ ๙ นมเพื่อกดให้ได้เสียง

6. สายทำด้วยลวดทองเหลือง 4 เส้น โดยพันผูกจากลูกบิด แยกเป็นคู่ๆขึงขนานผ่านมายังหน้ากะโหลก ผ่านรูระบายผาดบน ? หย่องล่าง ? ซึ่งทำด้วยไม้เล็กเช่นเดียวกับหย่องบนติดที่หน้ากะโหลกเพื่อหนุนสายให้ผ่านนมและไปพันผูกที่หลักผูกสาย

7. หลักผูกสายทำด้วยโลหะหรือแผ่นไม้บาง เจาะรูผูกสายติดอยู่บริเวณด้านล่างของกะโหลก


หลักการดีด

      ผู้ดีดนั่งท่าขัดสมาธิ ให้กะโหลกตั้งอยู่บนหน้าขาขวาและให้ปลายคันทวนชี้ไปทางซ้ายของผู้ดีด ใช้มือขวาจับไม้ดีดซึ่งทำด้วยเขาควายเหลาให้บางเรียวแหลม โดยผาดตามแนวของนิ้วชี้โผล่ปลายเล็กน้อย มีนิ้วหัวแม่มือคีบประกบกับนิ้วชี้ดีดบริเวณใกล้กับนมตัวสุดท้าย เสียงจะทุ้มไพเราะดี แต่ถ้าดีดใกล้รูระบายระบาย เสียงจะแหลม ในขณะเดียวกันใช้นิ้วชี้นางกลางและนิ้วก้อยของมือซ้าย กดสายลงตามช่องของนม เพื่อให้เกิดเสียงสูง-ต่ำตามที่ต้องการ


วิธีการดีดซึง

  วิธีการดีดของซึงมี2อย่างคือ

  1.การดีดที่ใช้ไม้ดีดดีดปัดลงข่างล่างอย่างเดียวซึ่งเป็นการดีดแบบดั่งเดิม

  2.การดีดที่ใช้ไม้ดีดดีดปัดขึ้นลงสลับกัน ซึ่งจะได้ท่วงทำนองที่ไพเราะไปอีกแบบหนึ่ง

ที่มา:https://sites.google.com/site/jarussangumput/home/sthan-thi-thxng-theiyw-canghwad-phayea

กลองสะบัดชัย

สวัสดีครับวันนี้จะพาทุกท่านไปรู้จักเครื่องดนตรีไทยพื้นบ้านภาคเหนือกันนะครับ ..ไปดูกันเลย!!

กลองสะบัดชัย


  กลองสะบัดชัย เป็นกลองที่มีมานานแล้วนับหลายศตวรรษ ในสมัยก่อนใช้ ตียามออกศึกสงคราม เพื่อเป็นสิริมงคล และเป็น ขวัญกำลังใจให้แก่เหล่าทหารหาญในการต่อ สู้ให้ได้ชัยชนะ ทำนองที่ใช้ในการตี กลองสะบัดชัยโบราณมี 3 ทำนอง คือ ชัยเภรี, ชัย ดิถี และชนะมารการตีกลองสะบัดชัยเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านล้านนาอย่างหนึ่ง ซึ่งมักจะพบเห็นในขบวนแห่หรืองานแสดงศิลปะพื้นบ้านในระยะหลังโดยทั่วไป ลีลาในการตีมีลักษณะโลดโผนเร้าใจมีการใช้อวัยวะหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่นศอก เข่า ศีรษะ ประกอบในการตีด้วย ทำให้การแสดงการตีกลองสะบัดชัยเป็นที่ประทับใจของผู้ที่ได้ชม จนเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน

รูปร่างของกลองสะบัดชัย

  รูปร่างลักษณะแต่เดิมนั้น เท่าที่พบมีแห่งเดียว คือกลองสะบัดชัยจำลองทำด้วยสำริด ขุดพบที่วัดเจดีย์สูง ตำบลบ้านหลวง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ กลองสะบัดชัยดังกล่าวประกอบด้วยขนาดกลองสองหน้าเล็ก 1 ลูก กลองสองหน้าขนาดใหญ่ 1 ลูก ฆ้องขนาดหน้ากว้างพอ ๆ กับกลองใหญ่อีก 1 ใบ พร้อมไม้ตีอีก 3 อัน หน้ากลองตรึงด้วยหมุดตัดเรียบมีคานหามทั้งกลองและฆ้องรวมกัน

ใช้ตีบอกสัญญาณ

1.สัญญาณโจมตีข้าศึก

2.สัญญาณบอกข่าวในชุมชน

เป็นเครื่องประโคมฉลองชัยชนะ

 วรรณกรรมเรื่องอุสสาบารส ผูกที่12 ตอนพระขิตราชรบศึกชนะก็มีการตีกลองสะบัดชัยเฉลิมฉลอง ‘' ส่วนว่าริพลโยธาพระขิตราชก็ตี กลองสะบัดชัย เหล้นม่วนโห่ร้องอุกขลุกมี่นันนัก เสียงสนั่นก้องใต้ฟ้าเหนือดินมากนัก ปุนกระสันใจเมืองพานมากนัก หากได้แล้วก็ตีค้อง กลองสะบัดชัย สงวนม่วนเหล้น กวัดแก่วงดาบฟ้อนไปมา

การแสดง

ฉาบ

สวัสดีทุกท่านที่เข้ามาชม..วันนี้จะพาทุกท่านไปรู้จักฉาบกันนะครับ!!ไปชมกันเลย

ฉาบ

  ฉาบ เป็นเครื่องดนตรีไทย ที่ถูกจัดอยู่ในประเภทของเครื่องตีให้จังหวะประกอบการบรรเลงของเครื่องดนตรีประเภทอื่น เนื่องจากธรรมชาติของฉาบเองนั้น จะให้เสียงที่ดัง แต่ไม่มีระดับ โดยทั่วไปแล้วฉาบจะสร้างจากโลหะ ประเภททองเหลือง แต่ปัจจุบันนั้นมีการปรับเปลี่ยนมาใช้โลหะอย่างอื่น ที่มีความทนทานมากกว่า ฉาบนั้นแบ่งเป็น 2 ชิ้น ใช้สำหรับกระทบกันให้เกิดเสียง ตรงกลางของฉาบทำเป็นกระเปาะสำหรับร้อยเชือกจับ และให้เสียงส่งผ่านได้ดีมากขึ้น ฉาบแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ

 1. ฉาบใหญ่ เป็นฉาบที่สร้างจากโลหะขนาดใหญ่ รูปร่างคล้ายฉิ่งแต่ใหญ่กว่า และส่วนของใบฉาบหล่อให้มีความบางมากกว่าฉิ่ง จึงกำเนิดเสียงได้ดดัง และกังวานมากกว่า ใบฉาบมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 24-26 เซ็นติเมตร ตรงกลางทำนูนเป็นกระเปาะ สำหรับให้เสียงไหลผ่าน และใช้เป็นที่จับ ด้านในร้อยเชือกเข้ากับใบฉาบอีกใบ การตีนั้นจะมีสองลักษณะ คือตีปิด และตีเปิด การตีให้ใช้วิธีจับด้วยมือทั้งสองข้าง แล้วกันกระทบเข้าหากันแรงๆ ให้เป็นจังหวะ ตามแนวเพลง เสียงของฉาบจะดังกังวาน แต่เสียงจะแตก เพราะใบฉาบสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง เสียงฉาบจะออกแนวเกรี้ยวกราด ดังนั้นจึงมักถูกจัดให้ใช้กำหนดจังหวะในวงประเภทปี่พาทย์ไม้แข็ง หรือปี่พาทย์มอญ แต่ไม่นิยมนำไปใช้ในการบรรเลงเพลงประเภทวงเครื่องสาย และวงมโหรี เนื่องจาแนวเพลงของวงดังกล่าว ออกแนวนุ่มนวล อ่อนหวาน จึงไม่เหมาะในการนำฉาบเข้าไปใช้

2. ฉาบเล็ก เป็นเครื่องดนตรีที่มีความคล้ายกับฉิ่งเช่นกัน แต่ลักษณะจะหล่อใบฉาบให้มีความบางมากกว่า ตรงกลางใบฉาบ ทำเป็นกระเปาะสำหรับรองรับเสียงระหว่างตี ร้อยเชือกเข้าด้วยกันกับฉาบอีกชิ้น ฉาบเล็กมีคลามคล้ายคลึงกับฉาบใหญ่เป็นอย่างมาก แต่มีขนาดที่เล็กกว่า จึงให้เสียงที่เบาและนุ่มกว่าฉาบใหญ่ เพราะมีเนื้อที่ในการสั่นสะเทือนของเสียงน้อย ฉาบเล็กมักถูกในในการบรรเลงทีมีบทบาทหยอกล้อเสียงฉิ่ง วิธีการตีก็เหมือนกับฉาบใหญ่ คือใช้มือทั้งสองข้างจับฉาบด้านละชิ้นหันหน้าฉาบเข้าประกบกัน แล้วตบฉาบเข้าหากัน และออกจากกันไปมาเป็นจังหวะ ฉาบเล็กนั้นสามารถใช้ในการบรรเลงดนตรีได้อย่างหลากหลายมากกว่าฉาบใหญ่ โดยสามารถนำไปใช้ได้แทบจะทุกประเภทวงดนตรี แต่มักมีข้อกำหนดในการใช้คือ ระหว่างการร้อง หรือเน้นบรรเลง จะไม่มีกใช้ฉาย เนื่องจากเสียงจะไปกลบทำนองหมด เป็นต้น
 นอกจากฉาบทั้งสองประเภทที่กล่าวไปแล้ว ยังมีเครื่องดนตรีอีกประเภทหนึ่ง ที่ให้เสียง และมีวิธีการเล่นคล้ายกัน คือฉาบสากล ที่แบ่งเป็นฉาบแขวน และฉาบคู่ ลักษณะการเล่น คือ เป็นเครื่องดนตรีที่ให้จังหวะ เช่นกัน
   

 ฉาบ  เป็นเครื่องดนตรีประเภทตี ประกอบจังหวะ ทำด้วยโลหะคล้ายฉิ่ง แต่หล่อให้บางกว่า ทำด้วยโลหะคล้ายฉิ่ง แต่หล่อให้บางกว่า ฉาบมี ๒ ชนิดคือฉาบเล็ก และ ฉาบใหญ่ ฉาบเล็กมีขนาด ที่วัดผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑๒ – ๑๔ ซม. ส่วนฉาบใหญ่มีขนาดที่วัดผ่าน ศูนย์กลางประมาณ ๒๔ – ๒๖ ซม เวลาบรรเลงใช้ ๒ ฝามาตีกระทบกันให้เกิดเสียงตามจังหวะ เมื่อฉาบทั้งสองข้างกระทบกันขณะตีประกบกันก็จะเกิดเสียง ฉาบ แต่ถ้าตีแล้วเปิดเสียงก็จะได้ยินเป็น แฉ่ง แฉ่ง แฉ่ง เป็นต้น


กิ๋ง

สวัสดีครับเพื่อนๆทุกคน ก่อนจากกันวันนี้ ผมมีเครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องกระทบ ที่มีรูปทรงสามเหลี่ยมมาแนะนำให้เพื่อนๆรู้จักกันนะครับ นั้นก็...