วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2562

เครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องตี

สวัสดีครับทุกท่าน..ไปชมเครื่องดนตรีไทย ประเภทเครื่องตีกัันเลยครับ!!

เครื่องตี

เครื่องตี

          เป็นประเภทที่เก่าแก่ที่สุดที่มนุษย์รู้จักใช้และเครื่องดนตรีของไทยก็เช่น เดียวกัน โดยทั่วไปเครืองตีเป็นเครื่องเก่าแก่ของไทย แต่ก้ได้แก้ไขปรับปรุงให้วิวัฒนาการมาโดยลำดับเครื่องตีที่ใช้ในวงดนตรีไทย แบ่งออกเป็น 3 จำพวก คือ

เครื่องตีทำด้วยไม้

          เครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องตีที่ทำด้วยไม้นั้นมีอยู่ด้วยกัน 7 ชิ้น ดังนี้

ระนาดเอก 

          ระนาดเอก  เป็นเครื่องดนตรีที่ทำด้วยไม้ ประเภทดำเนินทำนอง   มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์บ่งบอกว่าเกิดขึ้นเมื่อสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา บรรเลงผสมในวงปี่พาทย์เครื่องห้า  เครื่องคู่ และเครื่องใหญ่ตามลำดับ     มีหน้าที่เป็นผู้นำวง  ตีเก็บ  ตีกรอเป็นพื้นฐาน   ตีรัวในแบบต่างๆในบางโอกาส เดิมเรียกว่า " ระนาด "     ต่อเมื่อภายหลังมีระนาดทุ้มเกิดขึ้น     จึงเรียกระนาดชนิดนี้ว่า " ระนาดเอก "ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ระนาดเอก
ระนาดทุ้ม 
          
            ระนาดทุ้ม เป็นเครื่องดนตรีที่สร้างขึ้นมาในรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นการสร้างเลียนแบบระนาดเอก ใช้ไม้ชนิดเดียว กันกับระนาดเอก ลูกระนาดทุ้มมีจำนวน 17 หรือ 18 ลูก ลูกต้นยาวประมาณ 42 ซม กว้าง 6 ซม และลดหลั่นลงมาจนถึงลูกยอด ที่มีขนาดยาว 34 ซม กว้าง 5 ซม รางระนาดทุ้มนั้นประดิษฐ์ให้มีรูปร่างคล้ายหีบไม้ แต่เว้าตรงกลางให้โค้ง โขนปิดหัวท้ายเพื่อ เป็นที่แขวนผืนระนาดนั้น ถ้าหากวัดจากโขนด้านหนึ่งไปยังโขนอีกด้านหนึ่ง รางระนาดทุ้มจะมีขนาดยาวประมาณ 124 ซม ปาก รางกว้างประมาณ 22 ซม มีเท้าเตี้ย รองไว้ 4 มุมราง  หน้าที่ในวงของระนาดทุ้มนั้น ทำหน้าที่เดินทำนองรอง ในทางของตนเองซึ่งจะมีจังหวะโยน ล้อ ขัด ที่ทำให้เกิดความไพเราะและเติมเต็มช่องว่างของเสียง อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของระนาดทุ้ม











เกราะ

             เป็นเครื่องตีที่ทำด้วยไม้ไผ่ เดิมเป็นเครื่องตีสำหรับขานยาม ไม่ปรากฏว่านำมาใช้ร่วมในวงการดนตรี แต่ในการเล่นโขนละครตอนพักทัพที่อยู่เวรยาม  และตอนที่หัวหน้าหมู่บ้านใช้ตีเป็นอาณัติสัญญาบอกเหตุอันตราย หรือตีเพื่อนัดหมายชุมนุมลูกบ้าน
                                                                                     












  โกร่ง

               เป็นเครื่องตีกำกับจังหวะที่ทำด้วยไม้ไผ่  เช่นเดียวกับเกราะ   แต่ยาวกว่า      ตั้งอยู่บนขา 2 ขา  เคยเห็นใช้ตีตามชนบท ในฤดูการงานสงกราณต์ เด็กๆและหนุ่มสาวใช้ตีประกอบการร้องที่เรียกว่า " ร่ำ " คือการตีควบไปกับการร้องในการเชิญทรงเจ้าเข้าผี และรำแม่ศรี เป็นต้น   ที่ใช้ในวงการดนตรีก็คือ  การตีร่วมกับการแสดงหนังใหญ่ และโขนละคร   โดยเฉพาะในการบรรเลงเพลงกราวตรวจพล  แต่ในการแสดงโขน ของกรมศิลปากร จะใช้โกร่งร่วมตีในวงปี่พาทย์ในการแสดงโขนกลางแจ้ง  ถ้าเป็นการแสดงภายในจะไม่ใช้เพราะเสียงดังเกินไป   













เครื่องตีที่ทำด้วยโลหะ

             เครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องตีที่ทำด้วยโลหะนั้นมีอยู่ด้วยกัน 5 ชิ้น ดังนี้
ฆ้อง
            ฆ้อง เป็นเครื่องดนตรีประเภทเพอร์คัชชันทำด้วยโลหะที่มีหลายรูปแบบ คำว่าฆ้องนั้นมีที่ว่าจากภาษาชวา ปรากฏการใช้ฆ้องในหลายชาติในทวีปเอเชีย เช่น จีน อินโดนีเซีย ไทย มาเลเซีย เป็นต้น ปัจจุบันฆ้องเข้าไปมีส่วนในดนตรีตะวันตกด้วยเช่นกัน  ฆ้องมีอยู่ 6 ชนิด ดังนี้
    ฆ้องวงใหญ่
             เป็นเครื่องดนตรีที่วิวัฒนาการมาจากฆ้องรางของอินโดนีเซีย สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ส่วนประกอบของฆ้องวงใหญ่ประกอบด้วยลูกฆ้องและวงฆ้อง ลูกฆ้องมี 16 ลูกทำจากทองเหลือง เรียงจากลูกเล็กด้านขวา วงฆ้องสูงประมาณ 24 เซนติเมตร ใช้หวายโป่งทำเป็นราง ให้หวายเส้นนอกกับเส้นในห่างกัน 14-17 เซนติเมตร ใช้หวาย 4 อัน ด้านล่าง 2 อันขดเป็นวงขนานกัน เว้นที่ไว้ให้นักดนตรีเข้าไปบรรเลง  ฆ้องวงใหญ่เป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญที่สุด เพราะคนที่จะเล่นดนตรีในวงปี่พาทย์ต้องมาเรียนฆ้องวงใหญ่ก่อน ฆ้องวงใหญ่ทำหน้าที่เดินทำนองหลัก ซึ่งถือเป็นแม่บทของเพลง  ฆ้องวงใหญ่ใช้เล่นในวงปี่พาทย์นางหงส์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กิ๋ง

สวัสดีครับเพื่อนๆทุกคน ก่อนจากกันวันนี้ ผมมีเครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องกระทบ ที่มีรูปทรงสามเหลี่ยมมาแนะนำให้เพื่อนๆรู้จักกันนะครับ นั้นก็...