วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2562

โปงลาง

สวัสดีทุกท่าน..วันนี้จะพาทุกท่านมารู้จักดนตรีไทยพื้นบ้านภาคอีสาน หลายคนอาจจะรู้จัก..แต่เราจะพาทุกท่านไปดูที่มาและวิธีการทำเครื่องดนตรีโปงลาง.."ไปดูกันเลย"!!

โปงลาง

  โปงลาง มีชื่อเรียกหลายชื่อด้วยกัน เช่น หมากกลิ้งกล่อม หมากขอลอ หรือหมากโปงลาง เป็นต้น โปงลางเป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสาน ประกอบด้วยไม้ตัดเป็นท่อน เจาะรูร้อยเรียงกันจำนวน 13 ท่อน ทำให้เกิดเป็นเสียงสำหรับเล่นดนตรีได้เกือบทุกเสียงตามมาตรฐานดนตรีสากล ใช้แขวนตีกับเสาบ้าง ขึงบนรางบ้าง หรือบางทีก็ผุกกับตัวผู้บรรเลง ถือกันว่า กาฬสินธุ์ เป็นแหล่งที่เริ่มการเล่นโปงลางเป็นแห่งแรก ต่อมาได้รับการสร้างสรรค์และส่งเสริมให้เป็นที่รู้จักจนเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ปัจจุบันนอกจากจะใช้บรรเลงโดยลำพังแล้วยังบรรเลงรวมวงกับเครื่องดนตรีอื่นๆ รวมถึงประกอบการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านอีสานด้วยการฟ้อนท่วงทำนองหลากหลาย
ลักษณะเด่นเชิงรูปธรรม เป็นเครื่องดนตรีที่ให้ท่วงทำนองสนุกสนานเร้าใจ
ลักษณะเด่นเชิงนามธรรม แสดงถึงความสนุกสนาน และการใช้เป็นสัญญลักษณ์บอกเหตุลางดีและลางร้าย

 โปงลาง มีลักษณะวิธีการบรรเลงคล้ายกับระนาดเอก คือนำท่อนไม้ หรือกระบอกไม้มาร้อยติดกันเป็นผืน และใช้ไม้ตีเป็นทำนองเพลง แขวนตี กับเสาบ้าง ขึงบนรางบ้าง หรือบางทีก็ผูกติดกับตัวผู้บรรเลง เครื่องดนตรีชนิดนี้พบทั่วไปในหลายประเทศ สำหรับในประเทศไทยพบในแถบภาคอีสาน และเรียกเครื่องดนตรีนี้หลายชื่อด้วยกัน เช่นเรียกว่า หมากกลิ้งกล่อม หมากขอลอ หรือหมากโปงลาง เป็นต้น ที่ได้ชื่อว่า หมากขอลอ เพราะเวลาเคาะแต่ละลูกมีเสียงดังกังวานคล้าย ขอลอ (หมายถึง เกราะ ในภาษาอีสาน)
ส่วนคำว่า โปงลาง นั้น เดิมเป็นคำที่ใช้เรียก กระดึงสำริด ที่ใช้แขวนคอวัวในสมัยโบราณที่เรียกกระดึงนี้ว่าโปงลางคงเรียกตามเสียงที่ได้ยิน ต่อมามีผู้นำชื่อนี้ไปตั้งเป็นชื่อ ลายแคน (การบรรเลงแคน) ที่เป่าเลียนเสียงโปงลางที่ผูกคอวัวเรียกว่า ลายโปงลาง และที่เรียกว่าหมากกลิ้งกล่อมก็เพราะเป็นเครื่องดนตรีที่มีเสียงไพเราะ สามารถกล่อมให้ผู้ฟังมีความเคลิบเคลิ้มเพลิดเพลิน

โปงลาง นิยมทำจากไม้มะหาด หรือไม้หมากเหลื้อม เพราะเป็นไม้ที่มีความอยู่ตัว"ลายนกไซบินข้ามทุ่ง" หรือเพลง "ลายกาเต้นก้อน" เป็นต้น
มากกว่าไม้อื่นๆ วิธีการทำเอาไม้มาถากเหลาให้ได้ขนาดลดหลั่นกันตามเสียง ที่ต้องการในระบบ 5 เสียง โปงลาง 1 ชุดจะมีจำนวนประมาณ 12 ลูก ใช้เชือกร้อยรวมกันเป็นผืน เวลาตีต้องนำปลายเชือกด้านหนึ่งไปผูกแขวนไว้กับเสาในลักษณะห้อยลงมา ส่วนปลายเชือกด้านล่างจะผูกไว้กับขา หรือเอวของผู้ตี วิธีการเทียบเสียง โปงลาง ทำโดยการเหลาไม้ให้ได้ขนาด และเสียงตามต้องการ ยิ่งเหลาให้ไม้เล็กลงเท่าใดเสียงก็จะยิ่งสูงขึ้น ซึ่งแตกต่างจากระนาดในปัจจุบัน ที่มีเจ็ดเสียงและมีการปรับแต่งเทียบเสียงด้วยการใช้ ตะกั่วผสมขี้ผึ้ง ถ่วงใต้ผืนระนาด เพื่อให้ได้ระดับเสียง และคุณภาพเสียงที่ต้องการ การบรรเลงหมากกลิ้งกล่อม หรือโปงลาง นิยมใช้ผู้บรรเลงสองคนต่อเครื่องดนตรีหนึ่งชิ้น แต่ละคนใช้ไม้ตี 2 อัน การเรียกชื่อเพลงที่บรรเลงด้วยโปงลางมักจะเรียกตามลักษณะและลีลาของเพลง โดยการสังเกตจากสภาพของธรรมชาติที่อยู่รอบๆ ตัว เช่น เพลง 
โปงลางนั้นนอกจากจะใช้บรรเลงตามลำพังแล้ว ยังนิยมใช้บรรเลงเป็นวงร่วมกับ เครื่องดนตรีอื่นๆ เช่น พิณ แคน กลอง เพื่อการฟังและใช้บรรเลงประกอบการฟ้อนพื้น บ้านอีสานได้เป็นอย่างดี ต่อมาภายหลัง อาจารย์เปลื้อง ฉายรัศมี ซึ่งเป็นศิลปินแห่งชาติ ได้ประยุกต์วงโปงลางขึ้นใหม่ โดยนำกระดึงผูกคอวัวที่เป็นโลหะมาแขวนเรียงแทนลูกโปงลางเดิมที่ทำด้วยไม้ ทำให้เกิดมิติของเสียงที่แตกต่างจากการบรรเลงโปงลางแบบเดิม นับเป็นต้นแบบของ การพัฒนาโปงลางในระยะต่อมา เช่น การทำลูกโปงลางด้วยแผ่นทองเหลืองขนาดต่างๆ รวมถึงการนำเอาไม้ไผ่มาเหลาให้มีขนาดลดหลั่นกัน ทำให้ได้เสียงที่ทุ้มและนุ่มนวลขึ้น

ต้นกำเนิดโปงลาง

  โปงลาง บางแห่งเรียกว่า หมากกลิ้งกล่อม หมากเตอะเติน เป็นเครื่องดนตรีที่พัฒนามาจาก "เกราะลอ" หรือ ขอลอ คำว่า "โปงลาง" นี้ ใช้เรียกดนตรีชนิดหนึ่ง ที่มีการเล่นแพร่หลายทางภาคอีสานตอนกลางและตอนเหนือบางส่วน โดยเฉพาะจังหวัดกาฬสินธุ์ มีการเล่นแพร่หลายมาก เพราะเป็นที่กำเนิดโปงลาง ความหมายของโปงลางนั้นมาจากคำ 2 คำ คือ คำว่า "โปง" และ "ลาง"

 โปง เป็นสิ่งที่ใช้ตีบอกเหตุ เช่น ตีในยามวิกาลแสดงว่ามีเหตุร้าย ตีตอนเช้าก่อนพระบิณฑบาตให้ญาติโยมเตรียมตัวทำบุญตักบาตร และตีเวลาเย็นเพื่อประโยชน์ให้คนหลงป่ากลับมาถูก เพราะเสียงโปงลางจะดังกังวาลไปไกล (สมัยก่อนใช้ตีในวัด) ส่วนคำว่า ลาง นั้น หมายถึง ลางดี ลางร้าย

โปงลางนั้นก่อนที่จะเรียกว่า โปงลาง มีชื่อเรียกว่า "เกราะลอ" ซึ่ง เกราะลอ มีประวัติโดยย่อคือ ท้าวพรหมโคตร ซึ่งเคยอยู่ประเทศลาวมาก่อนเป็นผู้ที่คิดทำเกราะลอขึ้น โดยเลียนแบบ "เกราะ" ที่ใช้ตีตามหมู่บ้านในสมัยนั้น เกราะลอทำด้วยไม้หมากเลื่อม (ไม้เนื้ออ่อน สีขาว มีเสียงกังวาล) ใช้เถาวัลย์มัดร้อยเรียงกัน ใช้ตีไล่ฝูงนก กา ที่มากินข้าวในไร่ ในนา ต่อมาท้าวพรหมโคตร ได้ย้ายมาอยู่ที่บ้านกลางเหมือน อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ และได้ถ่ายทอดการตีเกราะลอให้แก่นายปาน นายปานได้เปลี่ยนเกราะลอ จากเดิมมี 6 ลูก เป็น 9 ลูก มี 5 เสียง คือ เสียง โด เร มี ซอล และ ลา เมื่อนายปานเสียชีวิต นายขานน้องนายปานได้รับการถ่ายทอดการตีเกราะลอ และนายขานนี่เองที่เป็นคนถ่ายทอด การตีเกราะลอให้กับศิลปินแห่งชาติผู้พัฒนาโปงลางให้เป็นเครื่องดนตรีที่ใครๆ ก็รู้จัก นายเปลื้อง ฉายรัศมี

 เนื่องจากเกราะลอใช้สำหรับตีไล่ ฝูงนก กา ที่มากินข้าวในไร่นา ดังนั้น จึงมีเกราะลออยู่ในทุกโรงนา (อีสานเรียกว่า เถียงนา) เมื่อเสร็จจากภาระกิจในนาแล้ว ชาวนาจะพักผ่อนในโรงนาและใช้เกราะลอเป็นเครื่องตี เพื่อเป็นการพักผ่อนหย่อนใจ โดยเกราะลอนี้จะตีนอกหมู่บ้านเท่านั้น เพราะมีความเชื่อว่า ถ้าตีในหมู่บ้านจะเกิดเหตุการไม่ดี เช่น ฟ้าฝนจะไม่ตกต้องตามฤดูกาล เป็นต้น

 การเรียนการตีเกราะลอในสมัยก่อน เป็นการเลียนแบบ คือเป็นการเรียนที่ต้องอาศัยการจำโดยการจำทำนองของแต่ละลาย เกราะลอที่มี 9 ลูกนี้จะเล่นได้ 2 ลายคือ ลายอ่านสือใหญ่ (อ่านหนังสือใหญ่) และลายสุดสะแนน (เช่นเดียวกับลายแคนและลายพิณ ดังนั้นเมื่อนำมาเล่นผสมผสานกันจึงได้อรรถรสยิ่งนัก)การเรียนการตีเกราะลอในสมัยก่อน เป็นการเลียนแบบ คือเป็นการเรียนที่ต้องอาศัยการจำโดยการจำทำนองของแต่ละลาย เกราะลอที่มี 9 ลูกนี้จะเล่นได้ 2 ลายคือ ลายอ่านสือใหญ่ (อ่านหนังสือใหญ่) และลายสุดสะแนน (เช่นเดียวกับลายแคนและลายพิณ ดังนั้นเมื่อนำมาเล่นผสมผสานกันจึงได้อรรถรสยิ่งนัก)
pluang 01ปี พ.ศ 2490 นายเปลื้อง ได้เรียนวิธีทำเกราะลอ และการตีเกราะลอ จากนายขาน ลายที่ตีคือ ลายภูไทใหญ่ หรืออ่านหนังสือใหญ่ นอกจากนั้น นายเปลื้อง ยังเป็นคนที่นำเกราะลอมาตีในหมู่บ้านเป็นคนแรก ในปีแรกนั้นการตีเกราะลอไม่เพราะหูคนฟังเท่าไรนัก 2 ปีต่อมาการตีเกราะลอของนายเปลื้องจึงดีขึ้น จนชาวบ้านพากันนิยมว่าตีได้ดี
ปี พ.ศ 2500 นายเปลื้อง ได้วิวัฒนาการ การทำเกราะลอ จากแต่ก่อนหน้านี้ที่ทำด้วยไม้หมากเลื่อม มาเป็นไม้หมากหาด (มะหาด, หาด) ซึ่งเป็นไม้เนื้อแข็ง เวลาตีแล้วไม่บวมง่าย โดยเฉพาะไม้ที่ตายยืนต้น เสียงจะกังวาล ที่เอาไม้หมากหาดมาทำโปงลางนี้ นายเปลื้องได้รับแนวคิดจากพระที่วัด ที่นำไม้นี้มาทำโปงที่ตีบอกเหตุ หรือตีให้สัญญาณดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
 ต่อมานายเปลื้อง ได้คิดทำเกราะลอ เพิ่มลูกจาก 9 ลูกมาเป็น 12 ลูก เมื่อทำเสร็จลองตีดูเห็นว่าเสียงเพราะมากดังนั้นในปี พ.ศ 2502 นายเปลื้อง จึงเพิ่มลูกเกราะลอจาก 12 ลูกมาเป็น 13 ลูก และเพิ่มเสียงจาก 5 เสียงเป็น 6 เสียงคือ เสียง โด เร มี ฟา ซอล และลา (ส่วนเสียง ซี นั้น ดนตรีพื้นเมืองของอีสานจะไม่ปรากฏเสียงนี้ จึงไม่เพิ่มเสียงนี้ไว้) และได้คิดลายใหม่ๆ เพิ่มเป็น 5 ลาย คือ ลายอ่านหนังสือใหญ่ ลายอ่านหนังสือน้อย ลายสุดสะแนน ลายสร้อย และได้เปลี่ยนชื่อ "เกราะลอมา" เป็น "โปงลาง" ซึ่งเรียกชื่อดนตรีชนิดนี้ว่า โปงลาง จนกระทั่งถึงปัจจุบัน ปี พ.ศ 2505 นายเปลื้องซึ่งสนใจและศึกษาโปงลาง หรือ เกราะลอเดิม มาตั้งแต่อายุ 14 ปี ตั้งแต่การเล่นนอกหมู่บ้านและนำมาเล่นในหมู่บ้าน และเคยรับงานแสดงในเทศกาลต่างๆ แต่การเล่นมักจะเป็นการเล่นเดี่ยวเท่านั้น นายเปลื้องจึงได้เกิดแนวความคิดว่า ดนตรีอีสานมีหลายอย่างด้วยกัน หากนำมาบันเลงร่วมกันคงจะมีความไพเราะและเร้าใจมากขึ้น จึงได้รวมเพื่อนๆ ตั้งวงโปงลางขึ้น โดยนำเอา ซอ พิณ แคน กลอง หมากกั๊บแก้บ ไห มาร่วมกันบรรเลง และได้รับความสนใจจากผู้ที่ได้รับชมเป็นอันมาก ปี พ.ศ 2511 นายเปลื้อง ได้พบกับนายประชุม อินทรตูล ซึ่งเป็นป่าไม้ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ นายประชุมให้การสนับสนุน และตั้งวงโปงลางขึ้นใหม่ ชื่อว่า วงโปงลางกาฬสินธุ์ นอกจากจะมีเครื่องดนตรีและเครื่องประกอบจังหวะแล้ว ยังมีรำประกอบอีกด้วย รำในขณะนั้นก็มีรำโปงลาง รำซวยมือ รำภูไท เป็นต้น วงโปงลางกาฬสินธุ์ได้รับความนิยมตลอดมา และได้มีการอัดเทปขายให้กับผู้สนใจด้วย
 เนื่องจากนายเปลื้อง ได้เปลี่ยนและย้ายไปทำงานหลายแห่ง ซึ่งตลอดระยะเวลาที่นายเปลื้องทำงานในที่ต่างๆ ก็จะเผยแพร่และฝึกสอนโปงลาง และดนตรีพื้นบ้านอีสานแก่ผู้สนใจ และตั้งวงโปงลางให้แก่ที่ที่ทำงานนั้นๆ เสมอ โดยเฉพาะวงโปงลางกาฬสินธุ์นั้น นายเปลื้องได้ควบคุม ดูแล ฝึกสอนและพัฒนาตลอดมา จนสามารถสร้างชื่อเสียงให้อย่างแพร่หลาย จนเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมกันอย่างกว้างขวาง ได้มีโอกาสแสดง ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 5 ขอนแก่น แสดงงานเฉลิมพระชนมพรรษา ที่อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นต้นนอกจากจะได้แสดงเผยแพร่ทางสื่อมวลชนสาขาต่างๆ แล้ว วงโปงลางยังได้มีโอกาสไปแสดงที่สวนจิตรลดา วังละโว้ วังสราญรมย์ สวนอัมพร และตามจังหวัดสำคัญใหญ่ๆ เช่น เชียงใหม่ สุราษฎร์ธานี เมืองโบราณสมุทรปราการ โดยก่อนหน้านั้น นายเปลื้องยังได้มีโอกาสนำโปงลางไปบรรเลง เพื่อเป็นการต้อนรับ ฯพณฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในโอกาสที่ท่านเดินทางมาเยี่ยมค่ายพระยอดเมืองขวาง จังหวัดนครพนมอีกด้วย
 ถึงแม้ว่า โปงลาง ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่นายเปลื้องได้พัฒนาขึ้นมานี้ จะมีอายุไม่มากนัก เมื่อเทียบกับเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสานชนิดอื่น เช่น แคน พิณ ซอ เป็นต้น แต่เนื่องจากโปงลาง เป็นดนตรีที่มีเสียงไพเราะกังวาล และให้ความรู้สึกของความเป็นพื้นบ้านอีสานได้อย่างแท้จริง
จึงทำให้โปงลางได้รับความนิยม และเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง ได้รับเลือกเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบภาพยนตร์ โดยเฉพาะเรื่อง "แคนลำโขง" และ "แผ่นดินแม่" ซึ่งนายเปลื้องได้ลงมือบรรเลงโปงลาง ดนตรีที่ตนเองพัฒนามาประกอบภาพยนตร์ทั้ง 2 เรื่องนี้ด้วยตนเอง
เนื่องจาก "โปงลาง" ได้รับความนิยมสูงมาก ดังนั้นทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 โดยรายการชีพจรลงเท้า ได้ติดต่อนายเปลื้อง เพื่อสัมภาษณ์สาธิตวิธีทำและการเล่น ให้ได้ออกอากาศเผยแพร่ไปทั่วประเทศ
นอกจากจะเป็นที่รู้จักและแพร่หลายในประเทศไทยเราแล้ว เมื่อปี พ.ศ 2516 นายเปลื้อง ฉายรัศมี โดยการนำของ ร้อยโทวิรัตน์ พงษ์สวัสดิ์ ได้เดินทางไปในลักษณะการท่องเที่ยว แต่ได้นำศิลปะวัฒนธรรมไปแสดงด้วย ซึ่งในครั้งนี้ นายเปลื้อง ได้มีโอกาสนำ โปงลาง ไปแสดงที่มาเลเซีย สิงคโปร์ อิหร่านและกรีซ ซึ่งทำให้ "โปงลาง" ได้เป็นที่รู้จักแพร่หลายขึ้น และสามารถใช้เป็นสื่อทางวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี ยิ่งกว่านั้นยังมีชาวสวิสและชาวอเมริกัน ได้ฟัง "โปงลาง" แล้วสนใจ และได้นำไปยังประเทศของตนอีกด้วย
นอกจากจะทำหน้าที่สอนดนตรีพื้นบ้านอีสานแก่ นักเรียนนาฎศิลป์ ของวิทยาลัยนาฎศิลป์กาฬสินธุ์แล้ว นายเปลื้องยังได้ร่วมมือกับ ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ จัดการอนุรักษ์ เผยแพร่ และพัฒนามรดกทางวัฒนธรรมของอีสานอีกทางหนึ่งด้วย โดยจัดการอบรมและฝึกสอนดนตรีพื้นบ้านอีสาน จัดการประกวดโปงลาง จัดกิจกรรมวัฒนธรรมสัญจร เป็นต้น นอกจากนั้นด้วยความร่วมมือของท่านผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฎศิลป์กาฬสินธุ์ ได้ตั้งวงโปงลางของวิทยาลัยขึ้น ได้มีโอกาสเผยแพร่ไปในต่างจังหวัด เช่น พิษณุโลก นครสวรรค์ เชียงใหม่ สุราษฎร์ธานี และยังมีโอกาสไปแสดง ณ. ประเทศอินเดียด้วย
 ปัจจุบันนี้นายเปลื้องได้เป็นลูกจ้างชั่วคราวอยู่ที่วิทยาลัยนาฎศิลป์กาฬสินธุ์ ทำหน้าที่สอนดนตรีพื้นบ้านอีสาน ได้แก่ พิณ ซอ แคน โปงลาง โหวด และอื่นๆ แก่นักเรียนนาฎศิลป์ พร้อมทั้งควบคุมวงโปงลางของวิทยาลัยนาฎศิลป์กาฬสินธุ์
  นายเปลื้อง ฉายรัศมี เป็นนักดนตรีพื้นบ้านอีสานอย่างแท้จริง เป็นผู้มีความสามารถพิเศษ สามารถเล่นและสอนดนตรีพื้นบ้านอีสานได้เกือบทุกชนิด ทั้ง พิณ แคน ซอ โปงลาง และอื่นๆ โดยเฉพาะโปงลางนั้น สามารถถ่ายทอดและเล่นได้ดีเป็นพิเศษและที่สำคัญที่สุดคือ นายเปลื้อง ฉายรัศมี ได้เป็นผู้ศึกษา ค้นคว้า ปรับปรุง และพัฒนาโปงลางตลอดระยะเวลา 40 ปี จนทำให้เกราะลอซึ่งเป็นเพียงสิ่งที่ใช้ตีไล่นกกาตามไร่ ตามนา พัฒนาเป็น "โปงลาง" ที่มีสภาพเป็นเครื่องดนตรี เอกลักษณ์ของภาคอีสานเคียงคู่กับแคน ซึ่งมีอยู่ก่อนแล้ว นายเปลื้อง ฉายรัศมี จึงควรแก่การยกย่องเชิดชูไว้ในฐานะเป็น "ศิลปินแห่งชาติ" สาขาศิลปะการแสดงพื้นบ้าน โดยแท้จริง

วิธีทำโปงลาง

 ไม้ที่ใช้ทำโปงลางนั้นส่วนมากจะไม้เนื้อแข็ง เพราะจะให้เสียงที่ไพเราะและกังวาล ไม้ที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือ ไม้หมากหาด (มะหาด) ใช้ทำลูกโปงลาง ไม้ประดู่ใช้ทำไม้ตีและขาตั้ง ไม้มะหาดนั้นจะแบ่งได้เป็น 3 ชนิด โดยจะแบ่งตามเกรด ดังนี้
  1. ไม้มะหาดทองคำ จัดอยู่ในเกรด A
  2. ไม้มะหาดดำ จัดอยู่ในเกรด B
  3. ไม้มะหาดน้ำผึ้ง จัดอยู่ในเกรด C

การเลือกไม้

 การเลือกไม้ที่จะนำมาใช้ทำโปงลางนั้น จะต้องเป็นไม้มะหาดที่ตายแล้วประมาณ 20 ปีขึ้นไป เพราะจะให้เสียงที่ดี กังวาน และไม่ผิดเพี้ยนหลังจากการผลิต ส่วนไม้มะหาดที่ยังสดอยู่นั้น จะไม่ใช้เพราะจะทำให้เสียงเพี้ยนไปจากความเป็นจริง และเสียงจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เมื่อไม้แห้งลง

วิธีทำลูกโปงลาง

 ไม้ที่ตัดมาจากต้นจะตัดเป็นท่อนๆ ท่อนละ 65 เซนติเมตร ท่อนหนึ่งจะผ่าแบ่งเป็นลูกโปงลางได้ 4-8 ลูก แล้วแต่ขนาดของท่อนไม้ ถ้าเป็นวิธีทำสมัยโบราณไม่มีเครื่องทุ่นแรงใดๆ เมื่อนำมีดมาถากไม้พอกลม ก็นำมาใช้ได้เลย ต่อมาได้นำเครื่องทุ่นแรงมาใช้คือ กบมือ จึงได้นำกบมือมาไสไม้ที่ทำโปงลางให้มีความกลมและสวยงามมากขึ้น จนถึงปัจจุบัน
ใช้มีดถากให้กลมพอประมาณ และขั้นตอนต่อไป นำไปเข้าเครื่องกลึงเพื่อความสวยงาม ละเอียด และกลมมากขึ้น เมื่อกลึงเสร็จแล้ววัดและตัดขยาดความยาว ลูกแรกยาว 60 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์ 7 เซนติเมตร ลูกต่อมาลดลงตามส่วน ห่างกันลูกละ 1 เซนติเมตร ลูกสุดท้ายยาว 29 เซนติเมตร
ขั้นตอนต่อไป นำไม้มาวัดหัวท้ายข้างละ 12 เซนติเมตร และลดลงตามส่วน ลูกล่างสุดวัดได้ 6 เซนติเมตร ในแต่ละข้าง เรียงไม้ให้สม่ำเสมอกัน แล้วนำมีดมาถากให้มีลักษณะเว้าทั้ง 2 ข้าง ของลูกโปงลาง แล้วนำมาแต่งเสียงโดยวิธีการตัดไม้ออก และเทียบเสียงให้เข้ากับ โปงลางต้นแบบ ขั้นตอนสุดท้าย เจาะรู โดยวัดเข้ามาวิธีเดียวกันกับการถากลูกโปงลางให้เว้า

                                       

การเทียบเสียง

 เสียงโปงลางถ้าใช้กับวงพื้นบ้านอีสานทั่วไป จะใช้ แคน เป็นหลักในการบันทึกเสียง แต่ถ้าจะใช้บรรเลงกับวงดนตรีสากล จะต้องใช้ คีย์บอร์ด, อิเล็คโทนในการเทียบเสียง หรือไม่ก็ใช้เครื่องเทียบเสียงสากล ในการเทียบเสียงลูกโปงลางในแต่ละลูก เสียงที่ได้มาจะเข้ากับเครื่องดนตรีสากลได้เป็นอย่างดี

โหวด

   สวัสดีทุกท่าน..ไปรู้จักเครื่องดนตรีไทยพื้นบ้านภาคอีสานที่มีชื่อว่า..'โหวด'กันเลยนะครับ

โหวด

  โหวด เป็นเครื่องเป่าไม่มีลิ้น จัดอยู่ในประเภทขลุ่ยแต่โหวดไม่มีรูพับจะมีเสียงลดหลั่นกันตามลักษณะของเสียงดนตรี โหวดประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนคือ ลูกโหวดไม้แกน และขี้สูดลูกโหวดทำจากไม้ซางที่ชาวอีสานเรียกว่าไม้เฮี้ยหรือไม้กู่แกนนำมาตัดให้ได้ขนาดลดหลั่นกันเป็นท่อตามโครงสร้างของเสียงแล้วมาเรียงตัดไว้กับแกนไม้ไผ่โดยใช้ขี้สูดเป็นกาวเชื่อมตัดกันไว้ขี้สูดส่วนหนึ่งใช้อุดรูลูกโหวดด้านล่างเพื่อเป็นเครื่องปรับระดับเสียงและขี้สูดอีกส่วนหนึ่งใช้ติดไว้ที่ตรงหัวของโหวดเพื่อกันกระแทกเวลาโหวดตกกระทบกันปัจจุบันใช้รองปากเวลาเป่าเพื่อหันโหวดไปมาได้สะดวก
เป็นเครื่องดนตรีไทยภาคอีสานประเภทเครื่องเป่า มีรูปร่างเป็นทรงกระบอก ทำจากไม้กู่แคนซึ่งเป็นไม้ซางชนิดเดียวกับที่ใช้ทำแคน มีลักษณะคล้ายกับเครื่องดนตรีกรีกโบราณ ที่เรียกว่า "Pan Pipe"

โหวดเป็นเครื่องดนตรีประจำจังหวัดร้อยเอ็ด
ผู้คิดค้นพัฒนาให้โหวดมีลักษณะแบบที่เห็นในปัจจุบันคือ นายทรงศักดิ์ ประทุมสินธุ์ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ที่มา:https://sites.google.com/site/c10032542/home/kheruxng-dntri-thiy-phakh-xisan

วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2562

แคน

ประวัติความเป็นมาของแคน

สวัสดีครับทุกท่าน...วันนี้จะพาไปรู้เครื่องดนตรีพื้นบ้านภาคอีสานกันนะครับ!!

แคน(ภาคอีสาน)

 แคน เป็นชื่อเครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคอีสานที่เก่าแก่มีมาแต่โบราณ แคนเป็น เครื่องดนตรีที่ใช้ปากเป่าให้เป็นเพลง ใครเป็นผู้คิดประดิษฐ์เครื่องดนตรีที่เรียกว่า "แคน" เป็น คนแรก และทำไมจึงเรียกว่า "แคน" นั้น ยังไม่มีหลักฐานที่แน่นอนยืนยันได้ แต่ก็มีประวัติที่เล่า เป็นนิยายปรัมปราสืบต่อกันมา ดังต่อไปนี้
หญิงหม้ายผู้คิดประดิษฐ์ทำแคน 
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีพรานคนหนึ่งได้ไปเที่ยวล่าเนื้อในป่า เขาได้ยินเสียงนกกรวิก (นกการเวก) ร้องไพเราะจับใจมาก เมื่อกลับมาจากป่าถึงบ้าน จึงได้เล่าเรื่องที่ตัวเองไปได้ยินเสียง นกกรวิกร้องด้วยเสียงไพเราะนั้นให้แก่ชาวบ้าน เพื่อนฝูงฟัง ในจำนวนผู้ที่มาฟังเรื่องดังกล่าวนี้มี หญิงหม้ายคนหนึ่งเกิดความกระหายใคร่อยากจะฟังเสียงร้องของนกกรวิกยิ่งนัก จึงได้พูดขอร้อง ให้นายพรานล่าเนื้ออนุญาตให้ตนติดตามไปในป่าด้วย เพื่อจะได้ฟังเสียงร้องของนก ตามที่นาย พรานได้เล่าให้ฟัง ในวันต่อมาครั้นเมื่อนายพรานล่าเนื้อได้พาหญิงหม้ายดั้นด้นไปถึงในป่า จนถึง ถิ่นที่นกกรวิก และนกเหล่านั้นก็กำลังส่งเสียงร้องตามปกติวิสัยของมัน นายพรานก็ได้กล่าวเตือน หญิงหม้ายให้เงี่ยหูฟังว่า 
"นกกรวิกกำลังร้องเพลงอยู่ สูเจ้าจงฟังเอาเถอะ เสียงมันออนซอนแท้ แม่นบ่" 
หญิงหม้ายผู้นั้น ได้ตั้งใจฟังด้วยความเพลิดเพลิน และติดอกติดใจในเสียงอันไพเราะ ของนกนั้นเป็นยิ่งนัก ถึงกับคลั่งไคล้ใหลหลง รำพึงอยู่ในใจตนเองว่า 
"เฮ็ดจั่งได๋นอ จั่งสิได้ฟังเสียงอันไพเราะ ม่วนชื่น จับใจอย่างนี้ตลอดไป ครั้นสิคอยเฝ้า ฟังเสียงนกในถิ่นของมัน ก็เป็นแดนดงแสนกันดาร อาหารก็หายาก หมากไม้ก็บ่มี" จึงได้คิดตัดสิน แน่วแน่ในใจตนเองว่า 
"เฮาสิต้องคิดทำเครื่องบังเกิดเสียง ให้มีเสียงเสนาะ ไพเราะออนซอนจับใจ ดุจดังเสียง นกกรวิกนี้ให้จงได้" 
  เมื่อหญิงหม้ายกลับมาถึงบ้าน ก็ได้คิดอ่านทำเครื่องดนตรีต่าง ๆ ทั้งเครื่องดีด สี ตี เป่า หลาย ๆ อย่าง ก็ไม่มีเครื่องดนตรีชนิดใดมีเสียงไพเราะวิเวกหวานเหมือนเสียงนกกรวิก ในที่สุดนาง ได้ไปตัดไม้ไผ่น้อยชนิดหนึ่ง เอามาประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นเครื่องเป่าชนิดหนึ่ง แล้วลองเป่าดู ก็รูสึก ค่อนข้างไพเราะ จึงได้พยายามดัดแปลงแก้ไขอีกหลายครั้งหลายครา จนกระทั่งเกิดเป็นเสียงและ ท่วงทำนองอันไพเราะเหมือนเสียงนกกรวิก จนในที่สุดเมื่อได้แก้ไขครั้งสุดท้ายแล้วลองเป่าก็รู้สึก ไพเราะออนซอนดีแท้ จึงคิดที่จะไปทูลเกล้าถวายพระเจ้าปเสนทิโกศล ให้ทรงทราบ 
ก่อนที่จะได้เข้าเฝ้า นางก็ได้เพียรพยายามปรับปรุงแก้ไขเสียงดนตรีของนางให้ดีขึ้นกว่า เดิม และยังได้ฝึกหัดเป่าเป็นท่วงทำนองต่าง ๆ จนมีความชำนาญเป็นอย่างดี 
ครั้นถึงกำหนดวันเข้าเฝ้า นางก็ได้เป่าดนตรีจากเครื่องมือที่นางได้คิดประดิษฐ์ขึ้นนี้ ถวาย เมื่อเพลงแรกจบลง นางจึงได้ทูลถามว่า 
"เป็นจั๋งได๋ ม่วนบ่ ข้าน้อย" 
พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้ตรัสตอบว่า "เออ พอฟังอยู่" 
นางจึงได้เป่าถวายซ้ำอีกหลายเพลง ตามท่วงทำนองเลียนเสียงนกกรวิกนั้น เมื่อจบถึง เพลงสุดท้าย พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้ทรงตรัสว่า "เทื่อนี่ แคนแด่" (ครั้งนี้ ดีขึ้นหน่อย) 
หญิงหม้าย เจ้าของเครื่องดนตรี จึงทูลถามว่า "เครื่องดนตรีอันนี่ ควรสิเอิ้นว่าจั่งได๋ ข้าน้อย" (เครื่องดนตรีนี้ ควรจะเรียกว่าอย่างไร พระเจ้าข้า) 
พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงตรัสว่า "สูจงเอิ้นดนตรีนี้ว่า "แคน" ตามคำเว้าของเฮา อันท้ายนี้ สืบไปเมื่อหน้าเทอญ" (เจ้าจงเรียกดนตรีนี้ว่า "แคน" ตามคำพูดของเราตอนท้ายนี้ ต่อไปภายหน้าเถิด) 
ด้วยเหตุนี้ เครื่องดนตรีที่หญิงหม้ายประดิษฐ์ขึ้นโดยใช้ไม้ไผ่น้อยมาติดกันใช้ปากเป่า จึงได้ชื่อว่า "แคน" มาตราบเท่าทุกวันนี้ 
นี่เป็นเพียงนิทานปรัมปราที่เล่าสืบต่อกันมา ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอน 
บางท่านก็สันนิษฐานว่า คำว่า "แคน" คงจะเรียกตามเสียงเครื่องดนตรีที่ดังออกมาว่า "แคนแล่นแคน แล่นแคน แล่นแคน" ซึ่งเป็นเสียงที่ดังออกมาจากการเป่าเครื่องดนตรีชนิดนี้ แต่ บางคนก็มีความเห็นว่า คำว่า "แคน" คงเรียกตามไม้ที่ใช้ทำเต้าแคน กล่าวคือ ไม้ที่นำมาเจาะใช้ ทำเต้าแคนรวมเสียงจากไม้ไผ่น้อยหลาย ๆ ลำนั้น เขานิยมใช้ไม้ตะเคียน ซึ่งภาษาท้องถิ่นทางภาค อีสานเรียกว่า "ไม้แคน" แต่บางท่านก็ให้ความเห็นที่แตกต่างกันออกไป 
แต่มีสิ่งหนึ่งที่น่าคิดอยู่บ้างคือ "แคน" นี้น่าจะทำขึ้นโดยผู้หญิง ซ้ำยังเป็น "หญิงหม้าย" เสียด้วย ด้วยเหตุผลที่ว่า ส่วนประกอบที่ใช้ทำแคนอันสำคัญคือส่วนที่ใช้ปากเป่า ยังเรียกว่า "เต้า แคน" และมีลักษณะรูปร่างเป็นกระเปาะคล้าย "เต้านม" ของสตรีอีกด้วย ทั้งการเป่าแคนก็ใช้วิธี เป่าและดูด จนสามารถทำให้เกิดเสียงอันไพเราะ นอกจากนี้ยังมีเหตุผลสนับสนุนอีกข้อคือ คำที่ เป็นลักษณะนามเรียกชื่อและจำนวนของแคนก็ใช้คำว่า "เต้า" แทนคำว่า อัน หรือ ชิ้น ฯลฯ ดังนี้ เป็นต้น ที่สำคัญคือ เสียงของแคนเป็นเสียงที่ไพเราะอ่อนหวาน ซาบซึ้งเหมือนเสียงนกการเวก ตาม นิทานเรื่องดังกล่าว เหมือนเสียงของหญิงหม้ายที่ว้าเหว่เดียวดาย ดังนั้นถ้าจะกล่าวว่า "หญิงหม้าย" เป็นผู้ประดิษฐ์คิดทำแคนขึ้นเป็นคนแรก จึงเป็นเหตุผลที่น่ารับฟังได้มากพอสมควรทีเดียว 
ลักษณะของแคนมีสองชนิด คือ แคนน้อย (ยาวศอก คืบ ยาวสองศอก ยาวสองศอกคืบ) และแคนใหญ่ (ยาวสามศอก ยาวสามศอกคืบ สี่ศอก สี่ศอกคืบ) ที่เคยใช้ในปัจจุบัน แต่ที่เคยมี ยาวถึงหกศอก แคนสองขนาดนี้แบ่งเป็นสองอย่าง คือ แคนเจ็ด และแคนแปด แคนเจ็ดนั้นมีลูกเจ็คู่ ส่วนแคนแปดนั้นมีลูกแปดคู่ 

พิณ(ภาคอีสาน)


สวัสดีครับ!!..มารู้จักเครื่องดนตรีไทยที่มีชื่อว่าพิณ..เป็นเครื่องตีพื้นบ้านภาคอีสาน ไปชมกันเล๊ยยย!!


พิณ(ภาคอีสาน)


   พิณ หรือ ซุง เป็นเครื่องดนตรีประเภทสายชนิดดีด ( Plucked Stringed Instrument) ตระกูลเดียวกับ ซึง กระจับปี่ จะเข้ แมนโดลิน ใช้บรรเลงดำเนินทำนอง นิยมทำมาจากไม้ท่อนเดียว จึงเรียกว่า ซุง ปัจจุบัน เรียกว่า พิณไม้ที่ทำพิณนั้น ไม้ที่ทำพิณนั้นส่วนมากใช้ไม้ขนุน เพราะง่ายแก่การขูด เจาะ บาก ได้ง่าย เมื่อไม้แก่เต็มที่ไม้จะมีสีสดใสเป็นสีเหลืองสวยงามตามธรรมชาติพิณ มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย อ้างอิงได้จากข้อความในหนังสือไตรภูมิพระร่วง ที่กล่าวถึงการละเล่นพื้นเมืองและการเล่นดนตรีในสมัยนั้นว่า ลางจำพวกดีดพิณและสีซอพุงตอและกรับฉิ่ง เริงรำจับระบำเต้นเล่น ซึ่งให้ความหมายว่า พิณ ใช้เล่นกับซอสามสาย ประกอบกับฉิ่ง กรับมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานีอีกประการหนึ่งชาวไทยเรารู้จักคำว่าพิณมาพร้อมกับ พุทธประวัติ ตอนที่ พระอินทราธิราชเสด็จลงมาดีดพิณสามสาย ถวายเพื่อเป็นอนุสติแก่พระพุทธเจ้าก่อนที่พระองค์จะตรัสรู้ ว่าการบำเพ็ญเพียรแสวงหาโฆษกธรรมนั้นถ้าเคร่งครัดนักก็เปรียบเสือนการขึ้นสายพิณให้ตรึงเกินไปแล้วย่อมขาด ถ้าหย่อนยานนักไม่มีเสียงไพเราะ แต่ถ้าทำอยู่ในขั้น มัชฌิมาปานกลาง ก็เหมือนการขึ้นสายพิณแต่เพียงพอดีกับระดับเสียง ย่อมให้เสียงดังกังวานไพเราะ แจ่มใสดังใจความในวรรณคดีเรื่อง “พระปฐมสมโพธิกถา” พระราชนิพนธ์ ของ สมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ว่า “ ขณะนั้น สมเด็จอมรินทราธิราชทราบในข้อปริวิตก ดังนั้นจึงทรง พิณพาทย์ สามสาย มาดีดถวายพระมหาสัตย์ สายหนึ่งเคร่งนักพอดีดก็ขาดออกไปเข้าก็ไม่บันลือเสียง และสายหนึ่งนั้นไม่เคร่งไม่หย่อนปานกลาง ดีดเข้าก็บันลือศัพท์ไพเราะเจริญจิต พระมหาสัตย์ได้สดับเสียงพิณก็ถือเอานิมิตนั้นทรงพิจารณาเห็นแจ้งว่า “ มัชฌิมาปฏิบัตินั้นเป็นหนทางพระโพธิญาณ ”อีสาน รวมทั้งการแสดงร่วมกับเครื่องดนตรีสากล อีกด้วย


ที่มา:https://sites.google.com/site/karphathnabthreiynbnweb2529/phin-xisan/khwam-pen-ma-phin-xisan

ตะโพน

สวัสดีครับ!!จะพาทุกท่านมารู้จักเครื่องดนตรีไทยที่ชื่อว่าตะโพนกันนะครับ

ตะโพน

ไปยังการนำทางไปยังการค้นหา

ตะโพน
ตะโพน เป็นเครื่องดนตรีที่ขึงด้วยหนัง ตัวตะโพนทำด้วยไม้สักหรือไม้ขนุน เรียกว่า หุ่น ขุดแต่งให้เป็นโพรงภายใน ขึ้นหนัง 2 หน้า ดึงด้วยสายหนังโยงเร่งเสียงเรียกว่า หนังเรียด หน้าใหญ่มีความกว้างประมาณ 25 ซม เรียกว่า หน้าเท่ง ติดหน้าด้วยข้าวสุกบดผสมกับขี้เถ้าเพื่อถ่วงเสียง อีกหน้าหนึ่งเล็กกว่ามีขนาดประมาณ 22 ซม เรียกว่า หน้ามัด ตัวกลองยาวประมาณ 48 ซม รอบ ๆ ขอบหนังที่ขึ้นหน้า ถักด้วยหนังที่ตีเกลียวเป็นเส้นเล็กๆ เรียกว่า ไส้ละมาน แล้วจึงเอาหนังเรียดร้อยในช่วงของไส้ละมานทั้งสองข้าง โยงเรียงไปโดยรอบจนมองไม่เห็นไม้หุ่น มีหนังพันตรงกลางเรียกว่า รัดอก ข้างบนรัดอกทำเป็นหูหิ้วและมีเท้ารองให้ ตัวตะโพนวางนอนอยู่บนเท้า ใช้ฝ่ามือซ้ายขวาตีได้ทั้งสองหน้า ใช้สำหรับประกอบจังหวะผสมอยู่ในวงปี่พาทย์ ทำหน้าที่กำกับจังหวะหน้าทับต่าง ๆ
ตะโพนนี้ ถือเป็นบรมครูทางดุริยางคศิลป์ นับว่าพระประโคนธรรพ เป็นครูตะโพน เมื่อจะเริ่มการบรรเลง จะต้องนำดอกไม้ธูปเทียน บูชาตะโพนก่อนทุกครั้ง และถือเป็นประเพณีสืบต่อกันมา เหตุที่ต้องกราบใหว้บูชาก็เพราะ ตะโพนเป็นเครื่องดนตรีที่บรรเลงร่วมกับ สังข์ บัณเฑาะว์ และ มโหระทึก ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีประจำองค์ของเทพเจ้า และสมมุติเทพ ดังนี้คือ สังข์ประจำพระองค์พระนารายณ์ และพระอินทร์ บัณเฑาะว์ ประจำองค์พระอิศวร มโหระทึก เป็นเครื่องดนตรีบรรเลงประกอบพระอิศริยยศองค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งถือเป็นสมมุติเทพส่วนตะโพนนั้นเป็นกลองที่พระคเณศได้เป็นผู้ตีเป็นคนแรก ดังนั้น ตะโพนเมื่อนำมาร่วมบรรเลงในวงปี่พาทย์ จึงถือเป็นบรมครู และทำหน้าที่กำกับหน้าทับต่างๆทั้งหมด 

กลองแขก...

หลายคนอาจมองข้ามกลองแขกกันไป..จะพาทุกคนมารู้จักกันนะครับ!!

กลองแขก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปยังการนำทางไปยังการค้นหา

กลองแขก
กลองแขก เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีที่มีรูปร่างยาวเป็นรูปทรงกระบอก ขึ้นหนังสองข้างด้วยหนังลูกวัวหรือหนังแพะ. หน้าใหญ่ กว้างประมาณ 20 cm เรียกว่า หน้ารุ่ยหรือ "หน้ามัด" ส่วนหน้าเล็กกว้างประมาณ 15 cm เรียกว่า หน้าต่านหรือ"หน้าตาด" ตัวกลองหรือหุ่นกลองสามารถทำขึ้นได้จากไม้หลายชนิดแต่โดยมากจะนิยมใช้ไม้เนื้อแข็งมาทำเป็นหุ่นกลอง เช่นไม้ชิงชัน ไม้มะริด ไม้พยุง กระพี้เขาควาย ขนุน สะเดา มะค่า มะพร้าว ตาล ก้ามปู เป็นต้น ขอบกลองทำมาจากหวายผ่าซีกโยงเรียงเป็นขอบกลองแล้วม้วนด้วยหนังจะได้ขอบกลองพร้อมกับหน้ากลอง และถูกขึงให้ตึงด้วยหนังเส้นเล็ก เรียกว่าหนังเรียดเพื่อใช้ในการเร่งเสียงให้หน้ากลองแต่ละหน้าได้เสียงที่เหมาะสมตามความพอใจ กลองแขกสำรับหนึ่งมี 2 ลูก ลูกเสียงสูงเรียก ตัวผู้ ลูกเสียงต่ำเรียก ตัวเมีย ตีด้วยฝ่ามือทั้งสองข้างให้สอดสลับกันทั้งสองลูก

ลักษณะเสียง

  • กลองแขกตัวผู้ มีเสียงที่สูงกว่ากลองแขกตัวเมียโดย เสียง "ติง" ในหน้ามัด และเสียง โจ๊ะ ในหน้าตาด
  • กลองแขกตัวเมีย มีเสียงที่ต่ำกว่ากลองแขกตัวผู้ โดย เสียง ทั่ม ในหน้ามัด และเสียง จ๊ะ ในหน้าตาด

วิธีการบรรเลง

การบรรเลงนั้นจะใช้มือตีไปทั้งสองหน้าตามแต่จังหวะหรือหน้าทับที่กำนดไว้ ในหน้าเล็กหรือหน้าตาด จะใช้นิ้วชี้หรือนิ้วนางในการตี เพื่อให้เกิดเสียงที่เล็กแหลม ในหน้ามัดหรือหน้าใหญ่ จะใช้ฝ่ามือตีลงไปเพื่อให้เกิดเสียงที่หนักและแน่น ซึ่งมีวิธีการบรรเลงที่ละเอียดอ่อนลงไปอีกตามแต่กลวิธีที่ครูอาจารย์แต่ละท่านจะชี้แนะแนวทางการปฏิบัติ

วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ซอ

สวัสดีครับ..ต่อจากนี้เชิญทุกท่านมารู้จักกับเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องสีกันนัครับ"ไปชมกันเลย"

 ประเภทเครื่องสี

เครื่องสี เป็น เครื่องสายที่ทำให้เกิดเสียงด้วยการใช้คันชักสีเข้ากับสายในดนตรีไทย มีอยู่ 3 ชนิดคือ
·       ซอด้วง
·       ซอสามสาย
·       ซออู้ 

  ซอด้วง เป็นซอชนิดหนึ่งของไทย ให้เสียงสูงแหลม การที่ได้ชื่อนี้เพราะส่วนที่เป็นเครื่องอุ้มเสียง มีรูปร่างคล้ายเครื่องดักสัตว์ชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า ด้วง มีส่วนประกอบ ดังนี้ กระบอก เป็นส่วนที่อุ้มเสียงให้เกิดกังวาน รูปร่างเหมือนกระบอกไม้ไผ่ ทำด้วยไม้เนื้อแข็งบางทีทำด้วยงาช้าง ไม้ที่ใช้ทำต่างชนิดกันจะให้คุณภาพเสียงต่างกัน เช่น เสียงนุ่ม เสียงกลม เสียงแหลม เป็นต้น ด้านหน้าของกระบอกมีวัสดุบาง ๆ ขึงปิด นิยมใช้หนังงูเหลือม นอกนั้นอาจเป็นหนังลูกวัว หนังแพะ หรือใช้กระดาษว่าวปิดซ้อนกันหลาย ๆ ชั้นก็ได้ - คันซอ ทำด้วยไม้หรืองาช้าง ลักษณะกลมยาว สอดปักที่กระบอกตั้งตรงขึ้นไป แบ่งออกเป็น ๒ ช่วง ช่วงบนตั้งแต่ใต้ลูกปิดขึ้นไปจนถึงปลายคัน รูปร่างคล้ายโขนเรือ เรียกว่า "โขน" ปลายโอนโค้งงอนไปทางด้านเปิดของกระบอก ช่วงล่วงนับตั้งแต่ลูกบิดลงไปเรียกว่า "ทวนล่าง"
ลูกบิด มีอยู่สองลูก เสียบอยู่ที่ช่วงล่างของโขน ปลายลูกบิดเจาะรูไว้สำหรับร้อยสายซอ เพื่อขึงให้ตึงตามที่ต้องการ ลูกบิดลูกบน สำหรับสายเสียงต่ำ เรียกว่า ลูกบิดสายทุ้ม ลูกบิดลูกล่าง สำหรับสายที่มีเสียงสูง เรียกว่า ลูกบิดสายเอก
รัดอก เป็นบ่วงเชือกสำหรับรั้งสายซอ นิยมใช้ขนาดเดียวกับสายเอก ใช้ผูกรั้งสายซอทั้งสองเข้ากับทวนล่าง - หย่อง เป็นไม้ชิ้นเล็กใช้หมุนสายซอให้พ้นขอบกระบอก และเป็นตัวรับความสั่นสะเทือนจากสายซอไปสู่หน้าซอ
คันชัก ทำด้วยไม้เนื้อแข็งหรืองาช้าง รูปโค้ง ด้ามมือจับมีหมุดสำหรับให้เส้นหางม้าคล้อง อีกด้านหนึ่งเจาะรูไว้ร้อยเส้นหางม้า ซึ่งมีประมาณ ๒๕๐ เส้น สอดเส้นหางม้าให้อยู่ภายในระหว่างสายเอกกับสายทุ้ม สำหรับสี การเทียบเสียง เทียบเสียงให้ตรงกับเสียงขลุ่ยเพียงออ ทั้งสายเอกและสายทุ้ม โดยใช้สายเอกเป็นหลัก



  ซอสามสาย เป็นซอชนิดหนึ่งของไทย มีมาแต่โบราณ มีเสียงไพเราะ นุ่มนวล รูปร่างวิจิตรสวยงามกว่าซอชนิดอื่น ถือเป็นเครื่องดนตรีชั้นสูง ใช้ในราชสำนัก มีส่วนประกอบ ดังนี้    กะโหลก ทำด้วยกะลามะพร้าว ตัดตามด้านขวาง ด้านหน้าต่อติดกับกรอบไม้เนื้อแข็ง เดิมนิยมใช้ไม้สักเรียกว่า "ขนงไม้สัก" มีรูปร่างคล้ายกรอบหน้านาง ใช้หนังลูกวัวหรือหนังแพะขึงปิดทับขอบขนงไม้สักและขอบกะลาให้ตึงพอดี
คันซอ แบ่งออกเป็นสามส่วน คือ ทวนบน ทวนกลาง และทวนล่าง ทวนบน คือ ส่วนที่นับจากรอบต่อเหนือรัดอกขึ้นไป ทวนกลาง คือ ส่วนต่อจากทวนบนลงมาถึงกะโหลก ทวนล่างหรือแข้งไก่ คือ ส่วนที่ต่อจากกะโหลก ลงไปรวมทั้งเข็มที่ทำด้วยโลหะ ซึ่งอยู่ปลายล่างสุด - ลูกบิด มีสามลูก ลูกล่างสำหรับสายเอก ลูกบนสำหรับสายกลาง สองลูกนี้อยู่ทางขวา ทางซ้ายมีลูกเดียว สำหรับสายทุ้ม หรือสายสาม
-  รัดอก มักใช้สายไหมฟั่นเกลียวแบบสายซอ พันรอบทวนกลาง ใช้รัดสายทั้งสาม ให้แนบเข้ากับทวนกลาง เพื่อให้เสียงของสายเปล่าได้ระดับและมีความกังวาน
หย่อง ทำด้วยไม้หรืองา เหลาเป็นรูปคันธนูให้ได้ขนาดพอรับสายซอทั้งสามสาย บนหย่องบากร่องไว้ สามตำแหน่ง เพื่อรองรับสายซอ
ถ่วงหน้า ทำด้วยแก้วหรือโลหะ ขึ้นรูปเป็นตลับกลมเล็ก ๆ ข้างบนประดับพลอยสีต่าง ๆ หรือถม หรือลงยา ภายในบรรจุสีผึ้งผสมตะกั่ว เพื่อให้ได้น้ำหนัก ใช้ชันปิดหน้า ใช้ปรับเสียงให้สายเอกเข้ากับสายทุ้ม
หนวดพราหมณ์ ใช้สายไหมฟั่นเกลียวอย่างสายซอ ผูกเป็นสายบ่วง ร้อยเข้าไปในรูที่ทวนล่าง เพื่อรั้งปมปลายสายซอทั้งสาม
คันชัก ทำด้วยไม้เนื้อแข็งและเหนียว กลึงให้ได้รูป ขึงด้วยขนหางม้าสีขาวประมาณ ๒๕๐-๓๐๐ เส้น



  ซออู้ เป็นซอที่มีเสียงทุ้มกังวาน ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายซอด้วง มีส่วนประกอบ ดังนี้    กะโหลก ทำด้วยกะลามะพร้าว ตัดส่วนที่กว้างใกล้กับขั้ว ให้พูทั้งสามอยู่ด้านบน ใช้หนังลูกวัวหรือหนังแพะ ขึงเป็นหน้าตรงที่ตัด
คันซอ ทำด้วยไม้หรืองาช้างกลึง แบ่งเป็นสองส่วน คือ ทวนบน นับตั้งแต่ลูกบิด ไปถึงปลายคัน ทวนล่างนับตั้งแต่ลูกบิดลงมาที่ตัวคันมีลวดหรือลูกแก้วคั่นเป็นระยะ ปลายทวนล่างสอดทะลุ กะโหลกลงไป เพื่อคล้องสายซอทั้งสองเส้น
ลูกบิด มีสองลูก เสียบอยู่ที่ทวนบน ใช้ขึงสายซอ ซึ่งทำให้ด้วยไหมฟั่นเป็นเกลียว หรือทำด้วยเอ็นผูกคล้องปลายทวนล่างสุด ลูกบนสำหรับสายทุ้ม ลูกล่างสำหรับสายเอก
- รัดดอก เป็นบ่วงเชือกใช้ลูกล่างสำหรับสายเอกรั้งสายซอ เพื่อให้ได้คู่เสียงสายเปล่าชัดเจน
- หมอน เป็นวัสดุที่วางหมุนระหว่างหน้าซอกับสายซอเพื่อให้ได้เสียงกับวาน บางทีเรียกว่า หย่อง

คันชัก ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง กลึงให้ได้รูป ขึงเส้นหางม้า ประมาณ ๒๕๐ เส้น เส้นหางม้านี้จะสอดเข้าระหว่าง สายเอกกับสายทุ้ม การเทียบเสียง สายเอกมีระดับเสียงตรงกับสายทุ้มของซอด้วง สายทุ้มมีเสียงต่ำกว่าสายเอก ๕ เสียง

วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ดนตรีไทยประเภทเครืองดีด

สวัสดีครับวันนี้จะพาทุกท่านไปรู้จักเกี่่ยวกับดนตรีไทย.....

ประเภทเครื่องดีด....ไปชมกันเลยครับ!!!

เครื่องดนตรีไทยประเภทดีด



กระจับปี่

กระจับปี่  เป็นพิณชนิดหนึ่ง มี ๔ สายกระพุ้งพิณมีลักษณะ เป็นกล่องแบน
รูปทรงสี่เหลี่ยมคางหมูมุมมน ด้านหน้าทำเป็นช่องให้เสียงกังวาน
ทวนทำเป็นก้านเรียวยาวและกลมกลึงปลายแบน และงอนโค้งไปด้านหลัง
ตรงปลายทวนมีลิ่มสลักเป็นลูกบิดไม้สำหรับขึ้นสาย ๔ ลูก สายส่วนมากทำด้วยสายเอ็น
หรือลวดทองเหลืองตลอดแนวทวนด้านหน้าทำเป็น “สะพาน” หรือ นม ปักทำด้วยไม้
เขาสัตว์หรือกระดูกสัตว์สำหรับหมุนสายมี ๑๑ นมบนหน้ากระพุ้งพิณมีชิ้นไม้หรือชิ้นโลหะ
รองสายไว้เรียกว่า “หย่อง”ทำหน้าที่ถ่ายทอดแรงสะเทือน จากการดีดสายลงมาสู่
ตัวกระพุ้งพิณเวลาบรรเลงใช้นิ้วจับไม้ดีดเขี่ยสาย เพื่อให้เกิดเสียง ไม้ดีดปักทำด้วยงาช้าง
เขาสัตว์ หรือวัสดุที่มีลักษณะ แบนและบางกระจับปี่พัฒนามาจากเครื่องดนตรี
ประเภทหนึ่งของอินเดียมีต้นกำเนิดจากการดีดสายธนู ตามหลักฐานพบว่า
กระจับปี่มีมาตั้งแต่ สมัยสุโขทัย

จะเข้
 จะเข้  สัณนิษฐานว่า ได้รับอิทธิพลจากมอญ เดิมทำเป็น รูปร่างเหมือน จระเข้
ไทยใช้จะเข้มาตั้งแต่สมัยอยุธยา และคงเล่นอย่างบรรเลงเดียว ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ
พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้นำจะเข้เข้ามาผสมแทนกระจับปี่เพราะเสียงดีกว่าและดีดได้
สะดวกกว่าจะเข้เป็นเครื่องดนตรีที่วางดีดตามแนวนอนทำด้วยไม้ท่อนขุดเป็นโพรงอยู่ภายใน
นิยมใช้ไม้แก่นขนุนเพราะให้เสียงกังวาลดีด้านล่างเป็นพื้นไม้ ซึ่งมักใช้ไม้ฉำฉา
เจาะรูไว้ให้เสียงออกดีขึ้น มีขาอยู่ตอนหัว๔ ขา ตอนท้าย ๑ ขา มีสาย ๓ สาย คือ สายเอก(เสียงสูง)
สายกลาง(เสียงทุ้ม) ทั้งสองสายนี้ทำด้วยเอ็นหรือไหมฟั่นเป็นเกลียวสายที่สามเรียก สายลวด(เสียงต่ำ)
ทำด้วยลวดทองเหลืองทั้งสามสายนี้ขึงจากหลักตอนหัวผ่าน โต๊ะ (กล่องทองเหลืองกลวง)
ไปพาดกับ”หย่อง”แล้วสอดลงไปพันกันด้านลูกบิด(ปักทำด้วยไม้หรืองา) สายละลูกโต๊ะนี้
ทำหน้าที่ขยายเสียงของจะเข้ให้คมชัดขึ้นระหว่างราง ด้านบนกับสายจะเข้จะมีชิ้นไม้เล็ก ๆ
ทำเป็นสันหนาเรียกว่า “นม” ๑๑ นม วางเรียงไปตามแนวยาว
เพื่อรองรับการกด จากนิ้วมือขณะบรรเลง นมเหล่านี้มีขนาดสูงต่ำลดหลั่นกันไป
ทำให้เกิดเสียงสูง-ต่ำ เวลาดีดพิณน้ำเต้า จะใช้ไม้ดีดที่ทำด้วยงาหรือเขาสัตว์ กลึงเป็นท่อนกลม
ปลายเรียวแหลมมน ดีดปัดสายไปมา ไม้ดีดนี้จะพันติดกับนิ้วชี้มือขวาส่วนมือซ้ายใช้
กดนิ้วบนสายถัดจากนม ไปทางซ้ายเล็กน้อยเพื่อให้เกิดเสียงสูงต่ำตามที่ต้องการ

พิณน้ำเต้า
พิณน้ำเต้า   สันนิษฐานว่า พิณมีกำเนิดในประเทศ ทางตะวันออก พิณโบราณเรียนพิณน้ำเต้า
ซึ่งมีลักษณะเป็น พิณสายเดี่ยว สันนิษฐานว่าชาวอินเดียนำมาแพร่หลายในดินแดนสุวรรณภูมิ
การที่เรียกว่าพิณน้ำเต้า เพราะใช้ เปลือกผลน้ำเต้ามาทำคันพิณที่เรียกว่า ทวน ทำด้วยไม้เหลา
ให้ปลายข้างหนึ่งเรียวงอนโค้งขึ้นสำหรับผูกสาย ที่โคนทวน เจาะรูแล้วเอาไม้มาเหลาทำลูกบิด
สำหรับบิดให้สายตึงหรือหย่อน เพื่อให้เสียงสูงต่ำสายพิณมีสายเดียวเดิมทำด้วยเส้นหวาย
ต่อมาใช้เส้นไหมและใช้ลวดทองเหลืองในปัจจุบันการดีดพิณน้ำเต้า  ปกติผู้ดีดจะไม่สวมเสื้อ
ใช้มือซ้ายจับทวนเอากะโหลกพิณประกบติดกับเนื้อที่อกเบื้องซ้าย ใช้มือขวาดีดสายขยับ
กะโหลกปิดเปิดที่ทรวงอกเพื่อให้เกิดเสียงก้องกังวานตามที่ต้องการใช้นิ้วมือซ้ายช่วยกดหรือเผยอ
เพื่อให้สายตึงหย่อน การดีด

พิณอีสาน
 พิณอีสาน   พิณมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปเช่น ซุง ซึงหมากจับปี่ หมากตดโต่ง หมากตับเต่ง
เป็นต้น พิณทำด้วยไม้ เช่น ไม้ขนุน(ไม้บักมี่)เพราะมีน้ำหนักเบาและให้เสียงทุ้มกังวานไพเราะกว่า
ไม้ชนิดอื่นมีรูปร่างคล้ายกีตาร์แต่ฝีมือหยาบกว่า พิณอาจจะมี 2 สาย 3 สาย หรือ 4 สายก็ได้โดย
แบ่งออกเป็น2 คู่ เป็นสายเอก 2 สาย และสายทุ้ม 2 สายดั้งเดิมใช้สายลวดเบรครถจักรยาน
เพราะคงทนและให้เสียงดังกว่าสายชนิดอื่นแต่ในปัจจุบันนิยมใช้สายกีตาร์แทนการขึ้นสาย
ไม่มีระบบแน่นอนนมหรือขั้นที่ใช้นิ้วกดบังคับระดับเสียงจะไม่ฝังตายตัวเหมือนกีตาร์หรือ
แมนโดลินการเล่นก็เล่นเป็นเพลงเรียกว่าลายโดยมากพิณจะเล่นคู่กันกับแคนจะประสาน
กับเสียงขับร้องของผู้ดีดเอง

ซึง
 ซึง   เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายที่ใช้วิธีเล่นโดยการดีดสมัยก่อนใช้สายลวดเส้นเล็ก ๆ
หรือสายเบรกรถจักยาน แต่ปัจจุบันนิยมใช้สายกีตาร์แทนซึงของชาวเหนือเป็นพิณแบบสายคู่
โดยแบ่งเป็นสายบน และคู่สายล่าง (สายบน – สายลุ่ม)มีลูกนับแบ่งเป็นช่อง ๆ คล้ายกีตาร์ซึง
มีทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลางขนาดใหญ่และยังมีขนาดใหญ่มาก ๆ เรียกกันว่า ซึงหลวงแต่นิยม
เล่นกันทั่วไปมักเล่นเพียง ๓ ขนาด คือ ขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ซึงใช้เล่นเพื่อให้เสียงประสานและ
ตัดกัน ในการเล่นเป็นกลุ่ม หรือคณะหรือเล่นบรรเลงเดี่ยวโดยเลือกขนาดที่ชอบของแต่ละบุคคล
ซึงแต่ละขนาดต่างมีสำเนียงเฉพาะตัว มีความไพเราะ คนละรูปแบบส่วนประกอบของซึง

ไหซอง
 ไหซอง   เป็นเครื่องดนตรีประเภทคุมจังหวะให้เสียงทุ้มต่ำ แตกต่างกันขึ้นอยู่กับความโตของไห
ที่ใช้และความตึงหย่อนของหนังยางที่ขึงพาดอยู่ปากไห   ไหซอง โดยทั่วไป นิยมใช้บรรจุปลาร้า
เกลือ และหมักสาโท ยังไม่ทราบชัดเจนว่าใครเป็นผู้นำไหซอง มาทำเป็นเครื่องดนตรีคนแรกไหซอง
ทำเป็นเครื่องดนตรี ได้โดยใช้สายยาง หรือสายหนังสะติ๊ก (สมัยก่อน ใช้ยางในรถจักรยาน หรือ
ยางในล้อรถต่อมาใช้ยางหนังสะติ๊ก) ขึงให้ตึงพาดผ่านปากไห และมัดยึดปลายสองด้านไว้กับคอไห
ปรับความตึงของหนังยางให้พอเหมาะ   เวลาจะเล่นใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้เกี่ยวดึงสายหนังยาง
ขึ้นมาแล้วปล่อยเสียงที่ได้จากการดึงปล่อยหนังยาง จะดังทุ้มต่ำ คล้ายเสียงเบส   สมัยก่อนนั้น
ยังไม่มีเบสจึงใช้ไหซองแทนเสียงเบส โดยจำนวนไหที่นิยมใช้ ประมาณ ๔-๕ลูกปรับระดับคีย์เสียง
ให้เหมาะสมกับเสียงดนตรีหลัก โดยปรับความตึงของหนังยางวางเรียงไหบนขาตั้งไห
จากใหญ่ไปหาเล็ก และผู้บรรเลงไหซองก็เป็นผู้ชายเหมือนเครื่องดนตรีอื่นๆ วงโปงลาง
ในยุคปัจจุบัน ส่วนใหญ่ ใช้เบส คุมจังหวะ จึงไม่มีการดีดไหซองจริงๆซึ่งไหซองในปัจจุบัน
เป็นเพียงโชว์ลีลาการดีดประกอบท่าฟ้อนรำแบบอ่อนช้อยแพรวพราวดังนั้น จึงนิยมใช้ผู้หญิง
เป็นผู้ดีดไห เรียกว่า นางดีดไห หรือนางไหและนางไหนี่เอง ถือเป็นจุดดึงดูดความสนใจของผู้ชมได้มาก

กิ๋ง

สวัสดีครับเพื่อนๆทุกคน ก่อนจากกันวันนี้ ผมมีเครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องกระทบ ที่มีรูปทรงสามเหลี่ยมมาแนะนำให้เพื่อนๆรู้จักกันนะครับ นั้นก็...